แถลงการณ์กรณีการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา


           ตามที่สื่อหลายสำนักรายงานเมื่อช่วงเช้าวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมาว่า กองทัพเมียนมาได้ทำการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 4 คน รวมถึง จ่อ มิน ยู แกนนำคนสำคัญ และ เพียว เซยา ตอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) โดยทั้ง 4 คนถูกตัดสินว่ากระทำความผิดฐานก่อการร้ายภายใต้การพิจารณาคดีแบบปิดลับ

          ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งเป็นตราสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนของนนานาชาติ ได้รับรองสิทธิในชีวิต ในฐานะสิทธิสูงสุดที่ไม่สามารถถูกพรากไปได้โดยอำเภอใจ รวมถึงไม่อนุญาตให้ลิดรอนได้ แม้แต่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธและเหตุฉุกเฉินสาธารณะอื่น ๆ ที่คุกคามความอยู่รอดของชาติ

         การใช้โทษประหารชีวิตถือเป็นการพรากสิทธิในชีวิต จึงควรงดเว้นหรือยกเลิกไป และไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม โทษดังกล่าวไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นบทลงโทษกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เป็นการละเมิด ICCPR โดยเฉพาะความผิดที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านการเมือง

          สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนองค์กร กลุ่ม เครือข่าย และบุคคลที่มีรายนามแนบท้ายนี้ ในฐานะประชาสังคมในประเทศไทย มีความกังวลอย่างยิ่งที่กองทัพเมียนมาได้นำโทษประหารกลับมาใช้อีกครั้ง จึงขอประณามการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงดังกล่าว  และขอเรียกร้อง ดังนี้

  1. กองทัพเมียนมา ต้องคืนอำนาจให้ประชาชนตามวิถีทางประชาธิปไตย และยุติบทบาทการควบคุมอำนาจโดยเร็ว
  2. ประชาคมอาเซียนต้องยืนหยัดและมีมาตรการอย่างเฉียบขาดชัดเจนให้กองทัพเมียนมาเคารพในฉันทามติอาเซียน 5 ข้อ เร่งรัดให้มีการยุติความรุนแรงและฟื้นฟูประชาธิปไตยคืนสู่เมียนมาโดยเร็ว
  3. รัฐบาลไทย ต้องแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามประชาชนที่เห็นต่างของกองทัพเมียนมา รวมถึงการใช้โทษประหารชีวิตกับประชาชนที่เห็นต่างจากกองทัพ และควรมีบทบาทร่วมกับประชาคมอาเซียนในการฟื้นฟูประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเมียนมา
  4. กลไกของสหประชาชาติและประชาคมระหว่างประเทศ ควรมีบทบาทมากขึ้นในการพยายามยุติความรุนแรงในเมียนมา และสนับสนุนการฟื้นฟูประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเมียนมา


ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2565


รายชื่อหน่วยงานร่วมลงนามในแถลงการณ์

  1. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) (Union for Civil Liberty, Thailand (UCL))
  2. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) (Human Rights Lawyers Association, Thailand (HRLA))
  3. สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี (Saiburi watershed Assosiation)
  4. สมาคมคนฮักถิ่น
  5. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation)
  6. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Foundation for Labour and Employment Promotion)
  7. มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม (Peace and Cultural Foundation)
  8. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (Human Rights and Development Foundation (HRDF))
  9. มูลนิธิศักยภาพชุมชน (People’s empowerment foundation)
  10. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) (Thai Volunteer Service Foundation)
  11. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีบ
  12. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Pro-rights)
  13. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) (Campaign for Popular Democracy – CPD.)
  14. คณะกรรมการรณรงคเพื่อประชาธิปไตยในพมา (กรพ) (Thai Action Committee for Democracy in Burma (TACDB))
  15. คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 (The Relatives Committee of May 1992 Heroes)
  16. คณะละครขับเคลื่อนสังคม มาร็องดู (Malongdu Theatre)
  17. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) (Youth Health Promotion Movement)
  18. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (Network of Indigenous Peoples in Thailand)
  19. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภาคตะวันตก (Karen network for Culture and Enveronment)
  20. เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น (Peaceful Homeland Network)
  21. เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ (People protection Network of Thailand)
  22. เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (Welfare State Network for Equality and Fairness-We Fair)
  23. เครือข่ายแรงงานนอกระบบ (HomeNet Thailand)
  24. เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ภาคอีสาน (Network of Informal Workers in the Northeast of Thailand)
  25. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน (Northeast Women Network, Thailand)
  26. ครูขอสอน (Kru Kor Sorn)
  27. กลุมนอนไบนารีแห่งประเทศไทย (Non-Binary Thailand)
  28. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย (Democracy Restoration Group)
  29. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
  30. ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน (Legal Advocacy Center for Indigenous Communities)
  31. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมประชาธิปไตย (Young People for Social Democracy Movement, Thailand (YPD.))
  32. ศูนย์ช่วยเหลือทางกฎหมายและจัดการศึกษาเชิงคลินิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (Legal Aid and Clinical Study Center, School of Law, Rangsit University)
  33. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  34. สถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social Democracy Think Tank (Thailand))
  35. สถาบันปรีดี พนมยงค์ (Pridi Banomyong Institute)
  36. สหพันธ์นักเรียนเพชรบูรณ์ (Assembly of Phetchabun students)
  37. สหภาพคนทำงาน
  38. สมาพันธ์เพื่อช่วยเหลือชาวมอญผู้ประสบภัยตามแนวชายแดน
  39. สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Political Science Student Union of Chulalongkorn University)
  40. องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) (The Student Government of Chulalongkorn University (SGCU))
  41. สำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่าน (Sam Yan Press)
  42. สมัชชาสิงห์ดำ (Assembly of Singhdam)
  43. เสรีเทยฺย์พลัส (Free Gender TH)
  44. ศาลายาเนี่ยน (Salayanion)
  45. ภูเก็ตปลดแอก (FreePhuket)
  46. อุดรพอกันที (UD DONE (Udonpokante))
  47. เฟมินิสต์บันเทิงศิลป์ (feministbanteungsilp)
  48. AroAce-clusionist: Aromantic & Asexual Exist
  49. Makhampom Theatre. Group
  50. NeurodiverThai
  51. PATANI FORUM
  52. SHero Thailand
  53. SAGA Thailand
  54. กฤตยา อาชวนิจกุล (Kritaya Archavanitkul)
  55. กิตติธัช สุมาลย์นพ (Kittithat Sumalnop)
  56. กิรภัส กนกผกา (Kirapat Kanokpaka)
  57. กรรณิกา ควรขจร (Kannika Kuankachorn)
  58. คณาสิต พ่วงอำไพ
  59. งามศุกร์ รัตนเสถียร (Ngamsuk Ruttanasatain)
  60. จักรรินทร์ ศรีทองวิจิตร
  61. จิราพร บุตราช (Jiraporn Budtarad)
  62. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (Chalong Soontravanich)
  63. ชมพูนุท เฉลียวบุญ
  64. ชุมพล ศรีรวมทรัพย์ (Mr. Chumpon Sriruamsap)
  65. ชูพินิจ เกษมณี (Chupinit Kesmanee)
  66. ณิชา พรรณจิตต์ (Nicha Phannajit)
  67. ณัฐาศิริ เบิร์กแมน (Nadthasiri Bergman)
  68. แทนฤทัย แท่นรัตน์ (Tanruthai Thanrut)
  69. ทอภพ เล้าโลมวงศ์ (Torpob Laolomwong)
  70. ทิพย์อัปสร ศิวาธร (Thip-upsorn Sivathorn)
  71. ทัศนัย รินสาร (Thatsanai Rinsan)
  72. ธรรมนูญ มานัสพิพัฒ
  73. ธนวรรธน์ สุวรรณปาล (Tanawat Suwannapan)
  74. ธณัฏฐพล ฉายรัศมี
  75. ธงชัย อัชฌายกชาติ (Thongchai Ashayagachat)
  76. ธีรยุทธ ศิริมาศ (Teerayut Sirimas)
  77. นฤมล ทับจุมพล
  78. นภัสสร ถมยา (Napassorn Thomya)
  79. นภสร เผื่อนโภคา (Napassorn Puenpoka)
  80. บรรณ แก้วฉ่ำ (ban kaewchom)
  81. ประพจน์ ศรีเทศ (Prapoth Srited)
  82. ปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์
  83. พรพิมล โรจนโพธิ์ (Pornpimon Rojjanapo)
  84. พรณี เจริญสมจิตร์ (Poranie Charoensomchit)
  85. พฤหัส พหลกุลบุตร
  86. ดร.ภัทรมน สุวพันธุ์ (Dr.Pattaramon Suwapan)
  87. รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ (Ratsada Manooratsada, Lawyer)
  88. วรภัทร วีรพัฒนคุปต์
  89. วราภรณ์ แช่มสนิท (Varaporn Chamsanit)
  90. วิภาส วิมลเศรษฐ (Wipas Wimonsate)
  91. วิลาสินี หมอกเจริญพงศ์ (Vilasinee Morkjaroenpong)
  92. วัชรากร ไชยแก้ว, แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม (Watcharakorn Chaikaew, United Front of Thammasat and Demonstration.)
  93. วิชยา โกมินทร์ (Wichaya Komin)
  94. วิจิตร ว่องวารีทิพย์ (Backyard Politics)
  95. วิชัย กอสงวนมิตร (Mr.Vichai Kosanguanmitr)
  96. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ (Viengrat Nethipo)
  97. เศกสรรค์ สุมนตรี
  98. สมนึก จงมีวศิน (Somnuck Jongmeewasin)
  99. สาคร สงมา
  100. สิรภพ อัตโตหิ (Siraphop Attohi)
  101. สันติชัย ชายเกตุ
  102. สุมิตรชัย หัตถสาร (Mr.Sumitchai Huttasan)
  103. สุวิมล รุ่งเจริญ (Suvimol Roongcharoen)
  104. สุธาสินี แก้วเหล็กไหล
  105. ผศ.ดร.สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์
  106. อิชย์อาณิคม์ ชิตวิเศษ
  107. อดิศร เกิดมงคล (Adisorn Kerdmongkol)
  108. อนันต์ อุตตะมะ (Anan Udtama)
  109. อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู (Arthit Jiamrattanyoo)
  110. เอมมิกา คำทุม (Emmika  Comtoom)
  111. ฮากิม พงตีกอ (Hakim Pongtigor)
  112. Aung Kyaw
  113. Kornkanok Khumta
  114. KHAING MIN LWIN
  115. Naowarat Suasa-ard
  116. NOPPOL MAIYPUANG
  117. Parit Chomchuen
  118. Supaporn Asadamongkoln
  119. Puttan Sakaekhum
  120. Chuvong Seangkong
  121. Nawamin trabut
  122. Yada Kriangkraiwuttikul