สรุปประเด็นเสวนาวิชาการร่าง... ตำรวจแห่งชาติประชาชนได้อะไร ?”

วันพุธที่ 24 มีนาคม 2564  เวลา 09.00 . -12.30 .

โรงแรม เดอะ สุโกศล (The Sukosol) ห้องรัตนโกสินทร์

จัดโดย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

สืบเนื่องจากในปีนี้ (2564) สภาได้บรรจุวาระการพิจารณาร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติเข้าสู่การประชุมร่วมกับ ส.. และ ส.. ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.. 2564 เป็นวาระแรก นำเสนอโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จากนั้นได้มีการแต่งตั้งกรรมาธิการพิจารณา เพื่อจะนำเนื้อหาเข้าสู่การประชุมวาร ฟะที่สองกลางปีนี้ 

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และเครือข่ายเล็งเห็นความสำคัญที่จะทำให้สภามีการพูดคุยเรื่องการปฏิรูปอย่างจริงจัง จึงได้จัดเสวนาวิชาการในครั้งนี้ขึ้น โดยได้รับเกียรติปาฐกถาพิเศษจาก ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ และผู้นำเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้แก่ 

  1. พญ.คุณหญิง พรทิพย์  โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง ...ตำรวจ
  2. ... ทวี  สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และรองประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ
  3. นายแพทย์ชลน่าน  ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พรรคเพื่อไทย) และ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ
  4. นายสาทิตย์  วงษ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  (พรรคประชาธิปัตย์) และ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ
  5. ...ชวลิต  เลาหอุดมพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  (พรรคก้าวไกล) และ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ
  6. ...วิรุตม์  ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
  7. ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  8. นางสมศรี  หาญอนันทสุข กรรมการ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) 

โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ปาฐกถาพิเศษโดยศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ กล่าวว่า “… รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดประเด็นการปฏิรูปตำรวจ และกระบวนการยุติธรรมไว้ คณะรัฐมนตรีจึงได้ตั้งนายมีชัย  ฤชุพันธุ์  เป็นประธานร่างกฎหมายทั้ง พ... องค์กรตำรวจ พ... ตำรวจแห่งชาติ และ พ...สอบสวนคดีอาญา ต่อมาร่างฯ ดังกล่าวถูกส่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำความเห็น และกลับสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี  แต่ปรากฏว่ามีประเด็นที่ถูกปรับปรุงไปหลายประการ และที่สำคัญที่สุดที่คิดว่าควรจะรักษาไว้คือ 

  1. การระบุเกณฑ์นายตำรวจอารักขาบุคคลสำคัญที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ไว้ใน มาตรา 7 ทำให้เกิดปัญหาการสูญเสียกำลังพล ที่จะต้องติดตามบุคคลต่างๆ โดยไม่มีที่มาที่ไปไม่ชัดเจน
  2. คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (.ตร.) เพิ่มสัดส่วนกรรมการที่มาจากตำรวจโดยตำแหน่งมากขึ้น และมีตำแหน่งของอดีตตำรวจที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอีก 3 คน จึงทำให้ตำรวจมีเสียงข้างมากในที่ประชุม ทั้งนี้ ควรให้องค์กรอธิปัตย์ 3 อำนาจ ได้แก่ ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา เข้ามามีบทบาทในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเป็นเกียรติยศ และเป็นศักดิ์ศรีอย่างยิ่ง เพราะมีการรับรองที่ได้ผ่านกระบวนการจากผู้แทนอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย 
  3. วิธีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (.ตร.) ควรเป็นองค์กรภายนอก และมีฐานะเป็นองค์กรอิสระ คือ คณะกรรมการเลือกตั้ง (...) และผู้มีสิทธิเลือกควรเป็นตำรวจทุกตำแหน่ง (ตั้งแต่สัญญาบัตร) ไม่ควรจำกัดเฉพาะตั้งแต่รองผู้กำกับขึ้นไป

4. ต้องแบ่งสถานีตำรวจออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ และนายตำรวจที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้กำกับหรือผู้กำกับเป็นครั้งแรก ให้เริ่มจากสถานีระดับเล็กหรือกลางเป็นเวลา 2 ปี จึงจะสามารถดำรงตำแหน่งในสถานีระดับใหญ่ได้ 

5. สายงานสอบสวนต้องมีสายงานที่ชัดเจน คือ มีผู้บังคับบัญชาของสายงานสอบสวนโดยเฉพาะ เพื่อความเป็นอิสระ ไม่ควรให้ขึ้นกับผู้บังคับบัญชาทั่วไป และกระบวนการมีตั้งแต่ผู้บังคับหมู่ ผู้ช่วยพนักงานสอบสวน และขึ้นไปถึงรองสารวัตรสายงานสอบสวน ไปจนถึงผู้บัญชาการสอบสวน 

6. ควรใช้ระบบการสะสมคะแนนประจำตัวที่ชัดเจน

7. เกณฑ์การย้ายข้ามสายงาน  หรือข้ามกองบัญชาการต้องมีความเข้มข้น โดยเฉพาะเรื่องคะแนน การสะสมความรู้ความสามารถ และความอาวุโส

8. ตำรวจบางประเภทในสายงานแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เช่น นิติวิทยาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องมียศและวินัยแบบทหาร เพราะยิ่งมียศ ยิ่งถูกควบคุมดูแลมาก ซึ่งปัญหาของชั้นยศ คือ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในวิชาชีพของตำรวจ ทำให้การดำเนินการเรื่องของความรู้ หรือองค์ความรู้ต่างๆ ไม่ก้าวหน้า ไม่เจริญ 

ตั้งแต่ข้อ 4 – 8  คือ การปฏิรูปที่ใหญ่ที่สุด ทำให้ได้คนที่ดูแลกระบวนการยุติธรรมที่เป็นต้นน้ำ ที่น่าไว้วางใจกว่าเดิม ‘ไม่ว่าระบบจะดีแค่ไหนเพียงไร แต่ถ้าได้คนไม่ดี และคนเหล่านั้น แฝงเร้นเข้ามา อาจจะเป็นคนเก่ง สอบเข้ามาได้ ถูกคัดเลือกเข้ามาได้ มีตำแหน่งหน้าที่การงานใดๆ แต่ไม่มีคุณธรรมเลย ขาดจริยธรรม ขาดการตรวจสอบกระบวนการเหล่านี้ก็ยังจะเป็นกระบวนการที่ทุกข์ทรมานที่สุดที่ประชาชนจะต้องเผชิญ’

ด้วยเหตุนี้จึงเห็นควรปฏิรูปให้สอดคล้องกับบทบัญญัติใน  . 258 .  ด้านกระบวนการยุติธรรม (4)  ของรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งกำหนดให้ข้าราชการตำรวจมีหลักประกัน  และได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้าย โดยจะต้องนำเกณฑ์อาวุโส  และเกณฑ์ความรู้ความสามารถมารวมพิจารณาประกอบกัน  และให้มีการแยกสายงานอย่างชัดเจน  เพื่อให้งานสอบสวนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นอิสระ โดยไม่ถูกครอบงำ หรือแทรกแซงโดยผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตหรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้โดยง่าย อันเป็นหลักการที่ปรากฏในร่างพ...ตำรวจแห่งชาติ  .. …. ที่ยกร่างโดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)  ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม ม.260 ที่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณายกร่าง  ...ตำรวจแห่งชาติ พ.. …. (ชุดของนายมีชัย  ฤชุพันธ์) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 203/2562  ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2562 

ดังนั้นต้องสร้างคนที่ดีงามและมีระบบการตรวจสอบที่ดีเป็นสิ่งที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความมั่นคงผาสุกกับประชาชนในระบบยุติธรรมและก็จะเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็งเช่นเดียวกับประเทศที่เจริญรุ่งเรืองในอารยประเทศทั้งหลาย…”

ความคิดเห็นจากผู้นำการแสวนา :

สาระสำคัญจากความเห็นของ...วิรุตม์  ศิริสวัสดิบุตร (เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม) ได้แก่

  1. สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยมีนายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธาน ในปี 2558 ได้มีมติและเสนอให้โอนหน่วยตำรวจประมาณ 12 – 13 หน่วย ให้กระทรวง ทบวง และกรมรับผิดชอบ แต่เรื่องเงียบหายไป ทั้งที่เรื่องนี้เป็นหลักสากลที่ว่า ‘ตำรวจควรมีอยู่ในทุกๆ หน่วยงาน’ ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในสภาฯ หรือศาลเท่านั้น แต่ควรมีตำรวจสาธารณสุข ตำรวจแรงงาน ตำรวจกรมขนส่ง เป็นต้น
  2. การปฏิรูปบางเรื่องไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายสามารถออกเป็นคำสั่งแนวปฏิบัติได้เลย
  3. ควรทำให้ร่าง พ...ตำรวจแห่งชาติ พ.. …. (ชุดของนายมีชัย  ฤชุพันธ์) ยังคงมีอยู่ แม้จะไม่อยู่ในขั้นญัตติที่คณะกรรมาธิการกำลังพิจารณา แต่ให้หมายเหตุไว้เป็นรัฐบาลต่อไป หรือหากพรรคการเมืองใดที่สนใจ และต้องเพิ่มเติมให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน เสนอในชั้นร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพราะร่างฯ ปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่

สาระสำคัญจากความเห็นของผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ (หัวหน้าฝ่ายกฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต) ได้แก่

  1. ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ หากไม่สามารถทำให้เป็นไปตามทิศทางของรัฐธรรมนูญได้ คือ พนักงานสอบสวนมีอิสระ และไม่อยู่ในอาณัติของการบังคับบัญชา จะก่อให้เกิดปัญหากับกระบวนการยุติธรรมปลายทาง เพราะมิติของการสอบสวน คือประตูแรกของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะตำรวจชั้นต้นกำหนดชะตากรรมคดี กำหนดข้อหาและฐานความผิด ผูกพันทันทีกับประชาชน และกระบวนการยุติธรรมในลำดับต่อๆ ไป จนถึงศาล ควรเป็นการทำงานที่มาจากความร่วมมือระหว่างพนักงานสอบสวนที่ทำงานได้อย่างอิสระ และพนักงานอัยการในการตั้งข้อหาประชาชน เพื่อให้เกิดดุลยภาพ และเป็นการ Start up ที่ส่งไปสู่กระบวนการยุติธรรมชั้นฟ้อง และชั้นพิจารณา ไม่ใช่เฉพาะตำรวจที่สามารถเลือกได้เองว่าจะลงข้อหาอะไร ไม่ลงข้อหาอะไร
  2. ควรแยกสายงานตำรวจในชั้นบังคับบัญชาให้ชัดเจน และไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจระบบชั้นยศ เพื่อไม่ให้ง่ายต่อการแทรกแซง 
  3. จากผลการศึกษาและงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณามีเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ในทางทฤษฎีกล่าวว่า ‘การเอาตัวไว้ในอำนาจรัฐเป็นข้อยกเว้น รัฐต้องปล่อยเป็นหลัก’ แต่อาจจะมีการคำสั่ง หรือธรรมเนียมปฏิบัติแบบเก่ามา จึงกลายเป็นว่า เมื่อมีการแจ้งข้อหาฐานความผิด ประชาชนต้องวิ่งหาประกันเพื่อให้ได้อิสรภาพ และมีคนที่ถูกขังฟรีจำนวนมาก เช่น บุคคลที่ศาลพิพากษาว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษ นอกจากนี้กองทุนชดเชยทดแทนคดีอาญาก็มีงบประมาณไม่เพียงพอ

สาระสำคัญจากความเห็นของ ... ทวี  สอดส่อง (เลขาธิการพรรคประชาชาติ และรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ) ได้แก่

  1. ต้องกำหนดนิยามในมาตรา 6 ให้ชัด เพราะตำรวจไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม มีหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำความผิดกฎหมาย หรือปราบปราม แต่ไม่มีระบุเพื่อประชาชนเลย 
  2. การยกระดับให้ตำรวจดูเรื่องอาชญากรรม ไม่เฉพาะผู้ที่กระทำความผิด แต่หมายรวมถึงกฎหมาย ผู้ร่างกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด  เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญระบุว่าการประชุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญเพราะเป็นประชาธิปไตย แต่ พรก.ฉุกเฉินสั่งห้ามการชุมนุม เหมือนเป็นการห้ามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
  3. เป้าประสงค์ของตำรวจควรมีหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ดังนั้น การคัดเลือกคนที่จะเป็นตำรวจ ต้องไม่ใช่เป็นระบบวิ่งเต้นโยกย้าย และควรเปิดโอกาสให้ประชาชน หรือตำรวจ 2 แสนคนได้เลือก
  4. หลายเรื่องผลักไปให้ตำรวจหมด เรื่องใหญ่ที่สำคัญคือ กฎหมาย ต้องปฏิรูปก่อน เพราะตำรวจต้องทำตามกฎหมาย
  5. ต้องกระจายอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (.ตร.) เพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ไม่ถูกรีดไถจากตำรวจ มีความปรารถนาว่าเป็นเจ้าของตำรวจ เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม จาก สยามรัฐออนไลน์ เมื่อวันที่  1 มีนาคม 2564 

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/223999

... ทวี  สอดส่อง กล่าวว่า “…งานหลักที่เป็นกระดูกสันหลังของงานตำรวจก็คือโรงพัก สิงที่ต้องปฏิรูปคือสถานีตำรวจ กับบุคลากรตำรวจที่ปฏิบัติงานยังสถานีตำรวจ และหน่วยงานกลางที่ทำงานหลักด้านปัญหาอาชญากรรม กรณีสถานีตำรวจ ที่งานตำรวจจะเริ่มและจบที่สถานีตำรวจ ข้อเสนอในการปฏิรูปแก้ไข ร่าง พ... ตำรวจ เรียวว่า “5 . และ 2 คือ

. ที่ 1 “สิทธิ์ของประชาชนได้เป็นเจ้าของตำรวจจะต้องทำยังไงจะให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนเป็นตำรวจของประชาชนในการกำหนดภารกิจบทบาทอำนาจหน้าที่เพิ่มในมาตรา 6 ดังนี้

(4) “รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน 

(6) แก้ไขถ้อยคำช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายแก้ไขเป็นบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน และดูแลรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ

. ที่ 2 “สายตรวจคืองานป้องกันอาชญากรรม และการรักษาความสงบเป็นหน้าที่ตำรวจสายตรวจ ต้องให้ความสำคัญ ถือเป็นกระดูกสันหลังของตำรวจ จะต้องได้รับการพัฒนา ฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ความสามารถและมีเส้นทางการเจริญก้าวหน้าถึง ผบ.ตร. ได้

. ที่ 3 “สายสืบตำรวจสายสืบเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน เพื่อทราบการกระทำผิด และรักษาความไม่สงบเรียบร้อย จะต้องได้รับการพัฒนา ฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ความสามารถ และมีเส้นการเจริญก้าวหน้าถึง ผบ.ตร. ได้

. ที่ 4 “สอบสวนจะต้องได้รับการพัฒนา ฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ความสามารถ และมีเส้นการเจริญก้าวหน้าไปเทียบเคียง อัยการ ศาล และองค์กรอิสระอื่น สามารถมีความเจริญก้าวหน้าถึง ผบ.ตร. ได้ เนื่องจากงานสอบสวนตำรวจ ที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐาน พิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธ์ เป็นจุดเริ่มของกระบวนการยุติธรรมที่เป็นงานหนักมาก ปัญหาเฉพาะหน้าของงานสอบสวนที่ถูกละเลย คือ ป.วิ.อาญา มาตรา 140 ที่บัญญัติว่าเมื่อการสอบสวนเสร็จ ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือผู้เป็นหัวหน้า มีความเห็นสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้อง หรืองดการสอบสวนคือรากเหง้าของปัญหาความเป็นธรรม และไม่อิสระของพนักงานสอบสวนเพราะให้อำนาจกับคนคนเดียว แม้คดีตั้งเป็นคณะพนักงานสอบสวนมากถึง 10,000 คน ทุกคนมีความเห็นสั่งฟ้อง แต่ถ้าผู้เป็นหัวหน้า อาจเป็น ผบ.ตร. หรือผู้บัญชาการตำรวจ หรือผู้การตำรวจ หรือผู้กำกับการตำรวจ ตามที่มีระเบียบมอบหมาย สามารถมีความเห็นต่างจากคณะพนักงานสอบสวนที่สั่งฟ้อง สั่งไม่ฟ้อง หรืองดการสอบสวนได้ ไม่มีการถ่วงดุลแต่อย่างใด จำเป็นต้องแก้กฎหมาย ป.วิ.อาญา อาจเหมือนลักษณะศาลปกครองให้เป็นองค์คณะ อีกประการ พนักงานสอบสวนเสร็จแล้ว ส่งสำนวนให้อัยการจะหมดอำนาจสอบสวนเลย พนักงานสอบสวนจะสอบในคดีนั้นได้ต่อเมื่อพนักงานอัยการสั่งให้สอบเพิ่มเติม เมื่ออัยการเป็นสั่งฟ้องนำตัวไปฟ้องศาล ถ้าสั่งไม่ฟ้องสำนวนไปที่ ผบ.ตร. กับ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ว่าจะมีความเห็นแย้งพนักงานอัยการหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับพนักงานสอบสวน จำเป็นต้องมีระบบตรวจสอบและถ่วงดุลขึ้น

. ที่ 5 “สวัสดิการและงบประมาณที่เหมาะสมและดำรงตนอยู่ได้ ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับงบประมาณค่อนข้างมากที่นำไปลงทุนในภารกิจไม่ใช้งานตำรวจ รวมถึงขนาดซื้อเครื่องบินที่นักธุรกิจใช้เป็นเครื่องส่วนตัว จะเป็นต้องมีการปฏิรูประบบงบประมาณตำรวจ ให้ใช้ในเป้าประสงค์ภารกิจตำรวจที่ขาดแคลน และสวัสดิการในการดำรงชีพ

ปฏิรูปอีก “2 .” คือ

ตที่ 1 “แต่งตั้งระบบการแต่งตั้งที่เป็นธรรมต้องแก้ไขมาตรา 14 คณะกรรมการ ก.ตร ที่ต้องมีตัวแทนของประชาชน และมีสัดส่วนให้ข้าราชการตำรวจทุกคนในจำนวน 2 แสนคนมีส่วนร่วมด้วย ที่เปิดกว้างให้ผู้มีความรู้ ความสามารถเป็น ก.ตร.ได้ และต้องสร้างความเป็นธรรมให้ข้าราชการตำรวจทุกคน โดยเฉพาะตำรวจส่วนใหญ่ประมาณ 2 แสนตำแหน่ง ตามมาตรา 69 (12)(13) วรรค 5 วรรค6 และมาตรา 73 (3)

ตที่ 2 “ตรวจสอบและประเมินผลการใช้อำนาจของตำรวจละกฎหมายที่ให้ตำรวจปฏิบัติซึ่งมีโทษทางอาญาที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หลักสิทธิมนุษยชนต้องเร่งแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้มีการตรวจสอบประเมินผลโดยประชาชนหรือชุมชนพื้นที่

อัตลักษณ์ตำรวจต้องคงไว้อัตลักษณ์วัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีงามของตำรวจด้านคุณธรรมในวิชาชีพตำรวจต้องคงไว้และในร่างพ...ตำรวจฯ ไม่มีปรากฏชัดเจนในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ที่สำคัญคือ อุดมคติตำรวจ (เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ กรุณาปราณีต่อประชาชนไม่มักมากในลาภผล ดำรงตนในความยุติธรรม ) และคำปฏิญาณตำรวจ (…ข้าพเจ้า จะยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อระงบทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ประชาชนตามหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษกร์) ที่ต้องมีเป็นหลักตำรวจต้องยึดมันประจำใจไว้…”

สาระสำคัญจากความเห็นของ ...ชวลิต  เลาหอุดมพันธ์ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกลและคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ) ได้แก่

  1. มีคำถามว่า องค์กรตรวจสอบที่เสนอมาว่า ‘เป็นหน่วยงานที่พิทักษ์คุณธรรม’ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ และเป็นความหวังที่ทำให้ตำรวจดูดีขึ้น มีประโยชน์จริงหรือไม่? เพราะประเทศไทยมีองค์กรตรวจสอบมากมาย ในขณะที่หลายประเทศมีองค์กรตรวจสอบน้อย แต่ทำไมการทุจริตมีน้อย ดังนั้น องค์กรตรวจสอบควรยึดโยงกับประชาชน เพื่อป้องกันไม่ให้การตรวจสอบสิ่งที่ผิดกลายเป็นสิ่งที่ถูก และการตรวจสอบต้องให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายจะตรวจสอบอย่างไร รวมไปถึงการที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำการทุจริต เช่น การรีดไถประชาชน เป็นต้น สิ่งสำคัญก็คือ การพิสูจน์หลักฐาน ที่ผ่านมาไม่มีหลักฐานที่สามารถบอกได้ว่า ‘มีการกระทำความผิดอยู่’ สิ่งที่จะทำให้หลักฐานปรากฏง่ายขึ้น คือ 

1) การให้สินบน คือ คนให้และคนรับ ควรเขียนว่าถ้าใครออกมาแฉก่อนก็จะไม่มีความผิด

2) หากคนในองค์กรรัฐเห็นเรื่องทุจริตต่างๆ สามารถเอาเรื่องนั้นออกมาเผยแพร่สาธารณะได้ โดยที่กฎหมายคุ้มครองไว้ว่าไม่มีความผิด 

  1. การสั่งของผู้บังคับบัญชาแบบไม่มีลายลักษณ์อักษร หรือไม่มีหลักฐานได้ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ควรทำตาม แต่เพราะมีอำนาจย้ายข้ามภูมิลำเนาหรือการสั่งลงโทษได้ตามอำเภอใจ จึงทำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งให้ทำผิดอะไรก็ได้ ควรเขียนกันเอาไว้ใน พ... เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถทำแบบนี้ได้ยากขึ้น
  2. องค์กรตรวจสอบควรยึดโยงกับประชาชน และกระจายอำนาจให้ประชาชนมีอำนาจในการตรวจสอบ เช่น การร้องเรียนต่างๆ มีสถานะให้ประชาชนสามารถมองเห็นได้ง่าย เป็นต้น
  3. ควรกระจายอำนาจทำให้ตำรวจในแต่ละโรงพักมีผู้บังคับบัญชาไม่กี่ชั้น  และสูงสุดแค่ระดับจังหวัด ใช้ประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ เพื่อสร้างอำนาจของประชาชนให้มากขึ้น และตำรวจจะสนใจประชาชนมากขึ้น แทนที่จะทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

สาระสำคัญจากความเห็นของ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พรรคเพื่อไทย) ได้แก่

  1. การทำกฎหมายฉบับนี้ (ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ) ให้เป็นประโยชน์กับประชาชนได้มากที่สุด คือ การถ่ายโอนภารกิจที่ไม่จำเป็น โดยเน้นภารกิจหลัก 
  2. การยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เกี่ยวข้องกับตำรวจทั้งหมด เพราะปัญหาเกิดจากการรวมศูนย์ ถ้ามีการกระจายอำนาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ และเป็นไปหรือไม่? ระดับโรงพักจะเป็นนิติบุคคล คือ มีอำนาจในการจัดการตนเองได้ระดับหนึ่ง เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น เพื่อทอนอำนาจจากส่วนกลางมาที่ผู้ปฏิบัติ 
  3. งานสอบสวนจะต้องเป็นอิสระ ทำให้เป็นวิชาชีพเหมือนกับแพทย์ และมี พ... วิชาชีพกำกับ ควบคุมดูแลเรื่องการสอบสวน
  4. การให้โอกาสคนในชุมชนเข้ามาเป็นตำรวจ โดยเลือกคนในพื้นที่เข้ามาทำหน้าที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และเป็นการกระจายอำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด 
  5. กรรมการที่มีเป็นจำนวนมาก ไม่ได้เป็นคุณกับการบังคับใช้กฎหมาย
  6. จะทำอย่างไรให้การใช้ดุลยพินิจมีน้อยที่สุดในการบังคับใช้กรณีเรื่องของโทษ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ (ร่าง พ... ตำรวจ) สามารถใช้ตามอำเภอใจได้

สาระสำคัญจากความเห็นของ นายสาทิตย์ วงษ์หนองเตย (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  (พรรคประชาธิปัตย์) และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ) ได้แก่

  1. กฎหมายฉบับนี้ (ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ) ยังไม่ใช่กฎหมายปฏิรูป เพราะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน และไม่ครอบคลุมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ในรอบระยะเวลาตั้งแต่มีกฎหมายตำรวจปี 2547 จนถึงปัจจุบัน (ปี 2564)  ผ่านมา 17 ปี ปัญหาใหญ่ที่สุด คือ ประชาชนความรู้สึกว่า ‘ตำรวจไม่ใช่ของประชาชน แต่ตำรวจเป็นของนักการเมือง ผู้มีอำนาจ หรือผู้มีอิทธิพล’ ดังนั้น ต้องทำให้ตำรวจเป็นองค์กรวิชาชีพอย่างแท้จริง และมีหลักการให้เป็นตำรวจของประชาชน 
  2. จัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างตำรวจกับประชาชนใหม่ ที่กฎหมายฉบับนี้ (ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ) ระบุไว้ในเป้าหมายว่าเพื่อให้การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจและการพิจารณาบำเหน็จความชอบมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
  3. ...ตำรวจแห่งชาติ พ.. 2547 มาตรา 7 “ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อให้ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก... กำหนดทำให้โรงพักมีผู้มีอิทธิพลเต็มไปหมด และใน ร่างพ... ตำรวจแห่งชาติฉบับนี้ได้เขียนเพิ่มว่า ‘ให้ อปท. จัดเงินอุดหนุนได้’ ยิ่งไปเปิดช่องให้ตัวเองได้ 
  4. ร่าง พ...ตำรวจแห่งชาติ มาตรา 12 (วรรคสาม) อาจจัดให้มีแผนหรือมาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนแต่ละท้องถิ่น แต่เขียนคำว่า ‘ก็ได้’ คือ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าทำก็ต้องหารือร่วมกับผู้ว่า นายอำเภอ หัวหน้าสถานีตำรวจ อปท. และชุมชน ซึ่งชุมชนอยู่ท้ายสุด ดังนั้น ความสัมพันธ์ทางอำนาจในกฎหมายฉบับนี้ (ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ) ประชาชนยังไม่ได้ทำงานอย่างมีส่วนร่วม
  5. กรรมการที่รับเรื่องร้องเรียนของประชาชนเป็นหลักการที่ดี แต่ที่ผ่านมามีกรรมการชุดเดียวที่ กทม. เคยได้รับรายงานว่าเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับตำรวจมีสูงสุดปีละ 20,000 เรื่อง กรรมการไม่สามารถจัดการกับเรื่องราวร้องเรียนของประชาชนทั้งหมดได้ดี ดังนั้น ควรกระจายไปในระดับจังหวัด และให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วย 

สาระสำคัญจากความเห็นของ พญ.คุณหญิง พรทิพย์  โรจนสุนันท์ (สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง ...ตำรวจ) ได้แก่

  1. บทบาทของตำรวจมี 2 หน้าที่ คือ งานรักษาความสงบของสังคม และต้นสายงานกระบวนการยุติธรรม
  2. ร่าง พ.รบ. ตำรวจแห่งชาติ ฉบับนี้ ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องพนักงานสอบสวนได้ เพราะตำรวจส่วนใหญ่ไม่อยากเป็นพนักงานสอบสวน และไม่กล่าวถึงมาตรา 6 รวมทั้งพนักงานสอบสวนไม่เป็นวิชาชีพ
  3. ตำรวจเป็นต้นสายธาร แต่โรงเรียนนายร้อยกลับสร้างตำรวจมาแบบโรงเรียนทหาร ซึ่งควรยึดหลักของการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าการถืออาวุธและอำนาจ 
  4. รัฐต้องดูแลต้นทุน ไม่ให้พนักงานสอบสวนต้องควักเงินค่าตรวจพิสูจน์ 
  5. ไม่ควรรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ ผบ.ตร. 
  6. ร่าง พ.รบ. ตำรวจแห่งชาติ ฉบับนี้ เรื่องที่จะให้มีคุณธรรม ปราศจากซึ่งการวิ่งเต้น ยังไม่เห็นชัดเจน  เพราะกระบวนการเลื่อนสู่ตำแหน่งไม่มีหลักฐาน ไม่ได้โอนเข้าบัญชี และยังมีการรวมศูนย์อำนาจอยู่ การร้องเรียนไม่ง่าย พอร้องก็ถูกย้ายทันที 
  7. ไม่มีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่ดี ไม่มีการตรวจสอบประสิทธิภาพทางคดี เพราะรวมศูนย์อยู่ที่ กทม. ทำให้เกิดปัญหาเรื่องส่วยหรือการสั่งคดี ที่ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม
  8. ตำรวจถูกนักการเมืองแสวงหาประโยชน์โดยที่ไม่ได้เป็นองค์กรเป็นกรรมการทำให้เกิดการแทรกแซงได้ตลอดเวลา 
  9. การซ้อมทรมาน การอุ้มหาย การใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ไม่ถูกแก้ไขเลย 
  10. ประเด็นเรื่องระบบงานนิติวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนสำคัญของต้นสายธารของกระบวนการยุติธรรม ร่าง พ.รบ. ตำรวจแห่งชาติ ฉบับนี้ ไม่กล่าวถึงเลย ระบบนิติเวชต้องไม่เป็นตำรวจ โดยคำนึงถึงสิทธิของเหยื่อ/คนตาย ต้องพูดได้ แต่ทุกวันนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะถูกกำหนดไว้ว่าให้ทำหน้าที่ตามพนักงานสอบสวน จริงๆ แล้วไม่ใช่ แพทย์นิติเวชต้องทำงานเพื่อกระบวนการยุติธรรม โชคดีที่มีการเสนอ พ... นิติวิทยาศาสตร์ โดยสรุป คือ มีกรรมการนโยบาย (เจ้าภาพ) มีการให้บริการได้ทั่วถึง มีสภาวิชาชีพ  มีการกำหนดมาตรฐาน/ห้องปฏิบัติการ มีนิติเวชศาสตร์เฉพาะเรื่อง (กระทรวงสาธารณสุข) ตั้งหน่วยขึ้นมา ไม่เบียดบังเงิน 30 บาท เพราะการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการรวบรวมพยานหลักฐานเป็นปัญหาใหญ่ของกระบวนการยุติธรรม ใช้ดุลยพินิจทุกขั้นตอน ต้องทำให้ดีที่สุด เก็บให้สมบูรณ์ ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด และเขียนรายงานแบบอิสระ โดยไม่ให้พนักงานสอบสวนเลือกที่จะส่ง หรือเลือกที่จะเอาผลบางอันใส่ 
  11. ปัญหาข้อสุดท้าย คือ ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรม คดีที่ฟ้องไม่ได้ มีแพะ เสียชีวิตฟรี นี่คือตัวอย่างสิทธิของเหยื่อในกระบวนการยุติธรรม ชอบอ้างว่า ‘เป็นความลับในสำนวน’ 

สาระสำคัญจากความเห็นของ  นางสมศรี หาญอนันทสุข (กรรมการ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)) ได้แก่

  1. ถ้าจะปฏิรูปควรไปให้ถึงโครงสร้าง ไม่ใช่เปลี่ยนแค่มาตรา หรือแก้ไขเล็กน้อย เพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียว  
  2. องค์กรที่เพิ่มขึ้น เช่น กก.ตร.  ต้องเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนได้ และทำงานได้อย่างอิสระจริงหรือไม่ และควรมีในระดับจังหวัดด้วย อาจจะผนวกไปกับคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) 
  3. สิ่งที่ภาคประชาสังคมอยากเห็นมาก คือ การกระจายอำนาจ เพราะสามารถช่วยให้เข้าถึงตำรวจได้ และสามารถที่จะพาเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย เช่น สตรี เด็กหญิง LGBT ได้อย่างสง่างาม ไม่ถูกละเลย เหยาะเย้ย หรือเหยียดหยาม โดยการกระจายอำนาจให้เป็นตำรวจจังหวัดแบบประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ตำรวจเป็นของประชาชนมากที่สุด ทำงานแล้วมีความสุข เพราะตำรวจที่มาจากท้องถิ่นจะยึดโยงกับประชาชนได้ดี รู้ปัญหาของจังหวัด รู้สึกรักหวงแหนจังหวัด และสามารถปกป้องประชาชนได้อย่างดี อาจจะอยู่ภายใต้ผู้ว่าฯ เพื่อทำให้ตำรวจจังหวัดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคลุกคลีกับประชาชนได้จริง ไม่รู้สึกว่า ‘ไปแล้วไม่ต้องสนใจกับปัญหาของจังหวัดนี้มากมาย เพราะเดี๋ยวจะโดนย้ายไปจังหวัดอื่น’ ทุกสิ่งทุกอย่างจบที่จังหวัด จะลงโทษ โยกย้ายก็อยู่ในจังหวัดนั้น หรือข้างเคียง เพื่อให้ตำรวจมีความสุขกับการทำงาน เพราะจะได้อยู่กับครอบครัวของเขาด้วย 

ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา : 

ประพจน์ ศรีเทศ (เครือข่ายสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เขตภาคเหนือ) กล่าวว่า “…ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ ฉบับนี้ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ดังนั้น จะทำอย่างไรให้ยึดโยงกับประชาชนมากที่สุด เพราะถ้าถามชาวบ้านในจังหวัด ชาวบ้านไม่รู้จักแน่นอนว่าตำรวจ ก ต่างๆ คือใคร?….”

ศยามล ไกยูรวงศ์ (เครือข่ายสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)) กล่าวว่า “…ต้นทางของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คือ งานสอบสวน ซึ่งพบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถ้ายังไม่แก้เรื่องการปฏิรูปงานตำรวจ หรืองานสอบสวน ปัญหาก็ยังคงเกิดขึ้นเพราะต้นทางอยู่ตรงนี้ ไม่พ้นเรื่องการสืบสวนสอบสวนในเบื้องต้นของการแสวงหาพยานหลักฐาน หรือการทำความจริงให้ปรากฏ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเป้าหมายสำคัญ ดังนั้น ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ ต้องปรับโครงสร้างทั้งหมด 

เห็นด้วยกับงานสืบสวนสอบสวนให้เป็นงานวิชาชีพรวมถึงงานนิติวิทยาศาสตร์งานสายวิชาชีพทั้งหมดซึ่งจะต้องไม่มียศตำแหน่ง 

การแสวงหาข้อเท็จจริงต้องทำงานเป็นทีมตั้งแต่งานสืบสวนงานสอบสวนและงานอัยการต้องไปด้วยกันต้องมีเครื่องมือและมีงบประมาณเพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองสิทธิการกระจายอำนาจควรไปที่ระดับจังหวัดจะเหมาะสมมากที่สุด 

ประเทศไทยมีการตั้งกรรมการระดับชาติแบบรวมศูนย์อำนาจทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันสถานการณ์ควรมีในระดับจังหวัดโดยออกแบบให้ประชาชนในจังหวัดเข้ามาร่วมด้วยกับกลไกของภาคประชาสังคมหรือคนในระดับจังหวัดร่วมในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานประเมินการจัดระบบข้อมูลรวมทั้งการตรวจสอบตำรวจที่เข้าไปในการทำงานแบบนี้จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพและท้องถิ่นได้เรียนรู้ที่จะต้องออกแบบระบบการบริหารจัดการจังหวัดของตนเอง…”

นายไพศาล ภิโลคำ (อดีตกรรมการ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)) กล่าวว่า “…การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จุดบริการจุดแรก (one stop service) ระดับโรงพักเป็นสิ่งจำเป็น การปฏิรูปต้องปฏิรูปทั้งองค์กร และให้อำนาจกับคณะกรรมการไกล่เกลี่ยระดับอำเภอเข้าไปช่วยโรงพักตาม พ... ไกล่เกลี่ยปี 2562 และประชาชนต้องเข้าถึงโรงพัก คือ ไปโรงพักแล้วไม่ต้องถอดรองเท้าและไม่ถูกมองเรื่องระบบชนชั้น สิ่งที่อยากเสนอไว้สำหรับครั้งต่อไป คือ ต้องสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เครือข่ายนักกฎหมาย เครือข่ายทนายความ และเชื่อมโยงกับสื่อมวลชนทำเรื่องการสื่อสาร และระดมข้อมูลเพื่อเป็นพลังในอนาคต…”

อาจารย์ขรรค์เพชร ชายทวีป (ผู้แทนภาคอีสาน) คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวว่า “…การเลือกคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ ควรเปิดพื้นที่ให้กับตำรวจชั้นประทวนด้วย และไม่เข้าใจว่าทำไมยศของผู้หญิง ต้องมีคำว่าหญิงด้วย แต่ผู้ชายไม่มี ประเด็นสำคัญในกระบวนการยุติธรรม ควรเป็นองค์กรกลุ่ม หรือคณะบุคคลเพื่อถ่วงดุลอำนาจ และประเด็นสุดท้าย ไม่แน่ใจว่าร่าง พ... นี้ มีการรายงานผลการดำเนินงานให้สภาฯ ทราบหรือไม่? เพราะจะเป็นกลไกที่เชื่อมโยงไปถึงประชาชนได้…”

บัณฑิต แป้นวิเศษ (มูลนิธิเพื่อนหญิง) กล่าวว่า “…คณะกรรมการมีหลายชุด แต่ไม่ค่อยเห็นสัดส่วนของผู้หญิงเข้าไป อันนี้เป็นปัญหาในเชิงทัศนคตินำมาสู่เรื่องของการลงไปสู่ภาคปฏิบัติ เช่น กรณีผู้หญิงถูกใช้ความรุนแรงในมิติต่างๆ ในชั้นพนักงานสอบสวน หรือตำรวจเองก็ยังมีทัศนคติในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ไม่ให้ความสำคัญ เพราะฉะนั้นคณะกรรมการต่างๆ ควรมีสัดส่วนของผู้หญิงเข้าไป และการปฏิรูปตำรวจ ควรจะมีการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม

สรุปความคิดเห็นจากผู้นำการเสวนา : 

...วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร (เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม) กล่าวว่า “…หัวใจของร่าง พ... คือ ตอบโจทย์หรือปัญหาของสังคมปัจจุบันหรือไม่ เช่น ตำรวจก่ออาชญากรรม การรับส่วย สินบนรายเดือน ตำรวจไม่รับความร้องทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมาก การล้มคดี การทำลายพยานหลักฐาน การยัดข้อหาประชาชน เป็นต้น…”

...ทวี สอดส่อง (หัวหน้าพรรคประชาชาติ) กล่าวว่า “…ประเด็นแรกอยากให้มีประเด็นย่อย คือ ตำรวจเป็นแค่ระบบย่อยในสังคม และเป็นระบบย่อยในกระบวนการยุติธรรม ทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน หรืองานรักษาความสงบประมาณ 70% งานเรื่องกระบวนการยุติธรรมก็เป็นเบื้องต้น กระบวนการยุติธรรมจะมีความยุติธรรมไหม ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมอื่นไม่ยุติธรรมแล้วมาโยนให้ตำรวจ ประเด็นที่สอง จะทำอย่างไรให้ประชาชนได้ประเมินผล ตรวจสอบ มีผลในการชี้ แต่งตั้งโยกย้าย ถ้าตำรวจไปสร้างปัญหาให้ประชาชน ประเด็นที่สามในอัตลักษณ์หรือสังคมตำรวจ จะทำอย่างไรให้ตำรวจยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อระงับทุกข์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขหรือรักษาความยุติธรรม เรื่องโครงสร้าง 5 . (สิทธิของตำรวจต้องเป็นสิทธิของประชาชน สายตรวจ สายสืบ สอบสวน ระบบตรวจสอบหรือสิทธิมนุษยชน) จะทำอย่างไรถึงจะพัฒนาคนกลุ่มนี้ให้มีความรู้สึกว่าตำรวจเป็นแพทย์ ไม่จำเป็นต้องมียศ…”

...ชวลิต  เลาหอุดมพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พรรคก้าวไกล) กล่าวว่า “…การแก้กฎหมาย พ... ตำรวจ หรือรัฐธรรมนูญ เป็นการแก้ที่ระบบ การเขียนกฎหมายก็คือการสร้างสภาพแวดล้อมให้คนที่อยู่ในระบบ ทำให้ดีขึ้น อยากชวนให้ทุกคนใส่ใจทำให้ระบบดีขึ้น…”

พญ.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า “…สำนักกิจการยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรมมีขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็ต้องกลับไปตามดูว่าทำไม และสุดท้ายกระทรวงยุติธรรมจะได้เปลี่ยนจากเกรด C เป็น เกรด A ได้อย่างไร…”

นางสมศรี  หาญอนันทสุข (กรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)) กล่าวว่า “…เมื่อพิจารณาร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ แล้ว อย่าละเลยหรือพยายามให้ พ... สอบสวนแท้ง หรือหายไปด้วยผลทางการเมือง เพราะฉบับนั้นได้กล่าวถึงการตรวจสอบจากอัยการ และเรื่องเงินเดือนของตำรวจควรจัดการภายใน…” 

นายสมชาย หอมลออ (อดีตคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และที่ปรึกษามูลนิธิผสานวัฒนธรรม) กล่าวว่า “…ร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติ ฉบับนี้ ยังเป็นปะผุอยู่ ดังนั้น ต้องผลักดันให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในเรื่องการปฏิรูปตำรวจ และปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม…” 

นิกร วีสเพ็ญ (ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)) กล่าวว่า “…บทสรุปที่ได้ในวันนี้ทั้งหมด จะถูกนำมาสรุปเป็นประเด็นและไปยื่นให้กับกรรมาธิการฯ เพื่อเป็นประโยชน์ที่จะนำไปแลกเปลี่ยนถกเถียงถึงข้อดี และข้ออ่อนในร่าง พ... ตำรวจแห่งชาติที่อยู่ในชั้นกรรมาธิการฯ ขณะนี้…”

******************************