สรุปสสส.เสวนาทัศนะ

ครั้งที่ 2/2564

หัวข้อ รัฐธรรมนูญกับหน้าที่ของรัฐในการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564

เวลา 14.00-15.30 น.

ผู้ร่วมเสวนา

1.สุนี ไชยรส รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

2.เชษฐา มั่นคง ผอ.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก – มพด.

3.ผอ.ปิยะวดี พงศ์ไทย ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กรมกิจการเด็ก และเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

4. ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร คณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

          เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมามีข่าวเล็กๆทางสื่อมวลชนหลายแขนง กรณีที่องค์กรภาคประชาชน 301องค์กร ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลมอบเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อเป็นของขวัญวันเด็กและช่วยเหลือครอบครัวที่ ประสบปัญหาการว่างงานในช่วงโควิด -19 รายการ “สสส.เสวนาทัศนะ” จึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และแลกเปลี่ยนสถานการณ์ของการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย 2560 มาตรา 54 วรรคสอง ที่ว่า “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแล และพัฒนาก่อนเข้ารับ การศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย”

รัฐกับการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กในปัจจุบัน

          สุนี ไชยรส สิ่งที่อยากเห็นแต่รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้บัญญัติไว้ คือ อยากให้มีสวัสดิการสังคมสำหรับ ทุกคน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ขอเรียกร้องขณะนี้ก็คือขอให้รัฐอุดหนุนเงินสำหรับเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ทุกเดือนๆละ 600 บาท ปัจจุบันรัฐบาลอุดหนุนเงิน 400 บาทต่อเดือนให้เฉพาะแม่ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ดังนั้นยังมีครัวเรือนอีกมากที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กเล็กที่มีรายงานการศึกษาว่า เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นวัยที่ตีองได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาต่างๆ แต่ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาใดๆ การเรียกร้องเช่นนี้มีพัฒนาการมาจากการ เรียกร้องให้ผู้สูงอายุได้รับเงินอุดหนุนจากเดิมหมู่บ้านละ 5 คน มาเป็นได้รับถ้วนหน้า คนพิการได้รับเงินอุดหนุน ถ้วนหน้า ในรัฐธรรมนูญ 2540 เด็กได้รับการเรียนฟรี 12 ปี โดยไม่ได้ถามว่ารายได้เท่าไร ก่อนปี 2558 เด็กเล็ก ไม่ได้รับอะไรเลย ต่อมาเด็กแรกเกิดจนถึง 1 ปี จะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 400 บาท/เดือน สำหรับครอบครัว ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 36,000 บาท ต่อมาได้รับเงินช่วยเหลือกว้างขึ้นขยับเป็นแรกเกิดถึง 3 ปี และรายได้ เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 1 แสนบาท ซึ่งจะพบว่าไม่ว่าจะมีพัฒนาการเงินอุดหนุนอย่างไรก็ยังมีเด็กที่ตกหล่นไม่ได้รับ การอุดหนุนอีกมาก เพราะมีขั้นตอนการคัดกรองมากมาย คนจนจำนวนมากเข้าไม่ถึงการอุดหนุนนี้ ในการเลือกตั้ง ที่ผ่านมาทุกพรรคการเมืองจะหาเสียงเรื่องการอุดหนุนเด็กเล็ก แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่มีการได้รับเงินแต่อย่างใด ในปี 2563 คณะรณรงค์เด็กเล็กจึงเข้าพบนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) เพื่อขอให้ช่วยผลักดันเรื่องนี้ ซึ่งรองนายกฯรับปากว่าจะไป ดำเนินการให้ โดยที่ประชุม กดยช. ในวันที่ 9 กันยายน 2563 มีมติให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กทุกคนถ้วนหน้าเดือนละ 600 บาท โดยจะเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 ซึ่งก็คือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 แต่มติ กดยช. ดังกล่าวยังต้อง เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและต้องบรรจุอยู่ในแผนงบประมาณปี 2565 ด้วย จึงเป็นที่มาของการ เรียกร้องให้รัฐบาลมอบเป็นของขวัญวันเด็กในปีนี้ เพราะเรื่องนี้ยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของครม.และเร่งให้ ส่วนราชการบรรจุแผนงบประมาณให้ทันก่อนประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2564

          ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร การผลักดันให้เด็กเล็กได้รับสวัสดิการนั้นมีอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปี 2540 และปัจจุบันมีงานวิจัยที่ผมทำกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพม.ที่จะถ่ายโอนอำนาจการดูแลเด็กเล็ก ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้ส่งงานไปแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับคณะกรรมการกระจายอำนาจตาม กฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจที่ได้มอบนโยบายที่จะให้การดูแลเด็กเล็กไปอยู่ในความดูแล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่หน่วยงานของรัฐต่างสนับสนุนให้มีการดูแลเด็กเล็ก ในส่วนของรัฐบาลนั้นเข้าใจว่าเรื่องการอุดหนุนเด็กเล็กเดือนละ 600 บาท/เดือน ได้เข้าครม.แล้วและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวง พม.ขอถอนเรื่องกลับไปขอรับฟังความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน เข้าใจว่ารับฟังเสร็จ เรียบร้อยแล้วรอที่จะเสนอเข้า ครม.อีกครั้งหนึ่ง แต่คงใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเนื่องจากว่ามีปัญหาอื่นๆอีกมากที่รอเข้า ครม.อยู่ และอีกประเด็นสำคัญคือต้องดูงบประมาณก่อนว่าจะสามารถเพียงพอที่จะจัดสรรให้เด็กเล็กอย่างถ้วน หน้าได้เพียงพอหรือไม่ แต่จากรายงานการศึกษาพบว่าจนถึงปี 2570 อัตราการเกิดของเด็กไทยลดลง ซึ่งจะใช้ งบประมาณอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าไม่ถึง 1% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP)[1] ซึ่งก็ไม่ใช้งบประมาณ มากมายและสามารถตรวจสอบได้ง่ายจากทะเบียนบ้านว่าใครจะได้รับเงินอุดหนุน ซึ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สามารถตรวจสอบได้ง่าย ไม่มีใครตกหล่น แต่ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันยังมีตัวเลขของการตกสำรวจไม่ได้รับการอุดหนุน อยู่ประมาณ 30 % แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือการนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาในครม.รอบใหม่ จะถูกตั้งคำถามเรื่องงบ ประมาณว่าจะมีเพียงพอหรือไม่ เพราะเป็นการอุดหนุนแบบถ้วนหน้า

เชษฐา มั่นคง การพัฒนาหรือการลงทุนสำหรับเด็กเล็กนั้นเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะการจะไป พัฒนาคุณภาพชีวิตในวัยที่โตเกินกว่า 6 ปี ก็อาจจะสายเกินไป และในขณะนี้นโยบายต่างๆของรัฐก็เดินหน้าไปแล้ว เรื่องการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตเด็กในวัยต่างๆ ทั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเด็กต่างๆ มีอยู่แล้ว เพียงแต่ คงต้องมีการทบทวนวิธีคิด (mindset) ของผู้มีอำนาจบางคน ที่มักตั้งคำถามว่าทำไมต้องถ้วนหน้า ทำไมไม่ให้ เฉพาะเด็กที่ยากจน แต่ในมุมมองของคนทำงานด้านเด็กนั้น มองในมุมของสิทธิมนุษยชนของเด็กของคนทุกคน ที่เกิดมาต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ แต่เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้อง ปกป้องคุ้มครองเด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กไทย เด็กชาติพันธุ์และเด็กที่พ่อแม่นับถือศาสนาใดก็ต้องได้รับการพัฒนา อยู่รอดและปลอดภัย นี่จึงเป็นที่มาขององค์กรภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนให้เด็กเล็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี ได้รับการอุดหนุนมาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี 2556 -57  องค์กรด้านเด็กก็ได้รณรงค์ให้มีการคุ้มครอง ทาง สังคม – social protection for แก่เด็กทุกคน ซึ่งบ้านเราไม่ค่อยได้พูดถึงมากนัก อาจมีบ้างตามที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 54 ว่ารัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแล และพัฒนาก่อนเข้ารับ การศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยและในมาตรา 48 เรื่องการดูแลแม่และเด็กที่ตั้งครรภ์ทั้งก่อนและหลังคลอด

จากงานศึกษาวิจัยหลายฉบับเห็นตรงกันว่า ถ้ารัฐไม่จัดสรรเงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้าแล้ว รัฐจะต้องสูญ เสียงบประมาณไปอีกมากในการจัดเก็บข้อมูลตัวเลขของการดูแลและพัฒนาเด็ก ทุ่มงบประมาณในด้านบุคลากร ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ และในอนาคตอัตราการเกิดของเด็กจะลดลงทุกปีด้วย ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะยิ่งทำให้การ อุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้ายิ่งใช้งบประมาณลดลงทุกปีตามไปด้วย จากที่ต้องใช้งบประมาณ 3 หมื่นล้านบาทต่อปี จะลดลงเหลือ 2.9 หมื่นล้านบาทและจะลดลงทุก ๆ ปี ถ้าได้รับการอุดหนุนเด็กถ้วนหน้าต้นทุนทางสังคม จะมีมากขึ้น เพราะเด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจากสวัสดิการที่ได้รับ ยิ่งในช่วงสถานการร์โควิด -19 จะยิ่งเห็น ได้ชัดเจนขึ้นว่าคุณภาพชีวิตของครอบครัวที่ยากจนเพราะตกงานจะยิ่งได้รับผลกระทบโดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะ ก่อนหน้านั้นก็เข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐอยู่แล้ว (เนื่องจากไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม) พอมาเจอโควิดอีก ยิ่งเข้าไม่ถึงไปใหญ่ ลองนึกดูว่าครอบครัวที่อยู่ห่างไกลเช่นบนดอยต่างๆ จะต้องมีค่ารถค่าอะไรต่างๆ ค่าทำบัตร ถ่ายเอกสารรวมๆ แล้ว ครั้งละ 600-1000 บาทเพื่อลงมาจากดอยเพื่อจะกรอกข้อมูลทำประวัติเพื่อลงทะเบียน รับสิทธิต่างๆ จากรัฐ ยิ่งเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เข้าถึงยาก เพราะต้องลงมาทุกเดือนเพือรับสิทธิ 600 บาท เป็นสิ่งที่ ยุ่งยากมาก คนเหล่านี้ก็จะไม่ยอมรับสิทธิ หรือกรณีคนที่อยู่ในชุมชน แออัด มพด.มีอาสาสมัครทำงานในชุมชน ร่วมกับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม พาชาวบ้านไปติดต่อเขตอำนวยความสะดวก ต่างๆ ก็ยังพอจะเข้าถึงสิทธิ แต่ยังมีคน เล็กคนน้อยที่ไม่มีพี่เลี้ยง พอไปติดต่ออำเภอก็จะพบอุปสรรคต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ก็ถอย ไม่กล้าไปอีก กลายเป็นคน ที่เสียโอกาส ซึ่งนี่คือคนจำนวน 30% ที่ตกหล่นเข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆที่รัฐมอบให้

ประเด็นต่อมาที่เคยเสนอในเวทีสัมมนากับภาครัฐคือกรณีเด็กชาติพันธุ์ที่ยังไม่มีสัญชาติไทย และกรณีแม่ ที่ตั้งครรภ์ควรได้รับเงินอุดหนุนตั้งแต่นั้นได้หรือไม่ หรือควรจะได้รับการอุดหนุนในอนาคตเพราะโครงการนี้ตั้งขึ้น เพื่อเรียกร้องสำหรับเด็กแรกเกิด เมื่อยังไม่เกิดก็ยังไม่ควรได้รับ

ส่วนประเด็นที่ว่าจะมีการกระจายอำนาจการดูและเด็กเล็กให้ท้องถิ่นนั้น ภาคประชาชนก็มีการพูดคุยกัน ว่าจะเป็นจริงได้เมื่อไร เพราะเข้าใจว่าเรื่องนี้ยังอยู่ที่รองนายกวิษณุ เครืองาม นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกว่าจะ กระจายงบประมาณและกำลังคนอย่างไรหรือไม่ นี่ก็ยังเป็นปัญหาว่าจะเกิดขึ้นได้เมื่อไร นี่จึงเป็นสิ่งที่เราอยาก เรียกร้องรัฐบาลว่า อย่าสร้างปัญหาอะไรให้ซับซ้อนขึ้นอีกเลย จัดสวัสดิการเงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้าก็จะสามารถ คลี่คลายปัญหาอุปสรรคต่างๆได้อย่างง่ายขึ้น

ผอ.ปิยะวดี พงศ์ไทย ก่อนจะเข้าสู่ประเด็นว่ารัฐดำเนินการอะไรไปบ้างในเรื่องการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก และการเตรียมการถ่ายโอนอำนาจการดูแลเด็กเล็กไปให้ท้องถิ่น ขอเรียนให้ทราบว่ากรมสวัสดิการเด็กและเยาวชน มีภารกิจตามกฎหมายหลายฉบับที่เดี่ยวกข้องกับการดูแลและพัฒฒนาเด็กเล็ก เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  และล่าสุด พรบ.การ พัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 กฎหมายต่างๆเหล่านี้มีกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติได้จริงผ่านคณะ กรรมการตามกฎหมายนั้นๆ ซึ่งมีกลไก 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับภาคและระดับชาติ ซึ่งแต่ละระดับก็ ประสานงานกับองค์กรภาคประชาสังคม  นักวิชาการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่อย่างไรก็ตามอาจจะยังไม่สามารถผลักดันให้เป็นจริงได้ แม้ว่าบุคคลในระดับ ต่างๆ ของการขับเคลื่อนจะมีจุดประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน แต่ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาการประสานงานและการ สื่อสารระหว่างกัน และการปรับเปลี่ยนนโยบายและบุคลากรในระดับกระทรวงและกรมทำให้ต้องปรับกิจกรรม และโครงการ ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต่างๆ

ในส่วนของการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก ก่อนที่จะดูแลแบบถ้วนหน้านั้น ขณะนี้กรมกิจการเด็กและเยาวชน มุ่งเน้นไปที่การพัฒนากลุ่มเป้าหมายเปราะบาง คือ แม่เลี้ยงเดี่ยว แม่วัยใสที่อายุไม่ถึง 20 ปี เพื่อส่งเสริมการดูแล และพัฒนาให้แม่ของเด็กเข้ามาอยู่ในโครงการ จากฐานข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการ เลี้ยงดูเด็กแรกเกิดทำให้เราทราบที่มาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เราสามารถเข้าถึงเพื่อให้การช่วยเหลือได้ตลอดเวลา ขณะเดียวกับกรมฯมีบ้านพักเด็กและครอบครัว 77 แห่งทั่วประเทศในพื้นที่เพื่อดูและสวัสดิภาพ ภายใต้พรบ.คุ้มครองเด็ก สำหรับเด็กเล็กและครอบครัว รวมทั้งสตรีที่ประสบปัญหาที่อาจถูกละเมิดสิทธิต่างๆ ภายในครอบครัว ก็สามารถมาขอความช่วยเหลือจากบ้านพักฯได้ อีกส่วนหนึ่งที่กรมฯมีภารกิจคือกองทุน สงเคราะห์เด็กและครอบครัวสำหรับการแก้ไขและให้คำปรึกษาปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ไม่สามารถอยู่ในครอบครัวได้ต้องการหาที่พักพิงอื่น กรมฯก็จะจัดหาครอบครัวทดแทนให้ไปอยู่กับครอบครัว อุปถัมภ์ที่เป็นเครือญาติ หรือจัดให้เข้าสู่สถานสงเคราะห์ที่มี  2 แห่งสำหรับเด็กอ่อน และ 7 แห่งสำหรับเด็กเล็ก จนถึง 18 ปี สิ่งเหล่านี้กรมฯเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อให้สอดคล้องกับบททัญญัติของรัฐธรรมนูญ

          ส่วนกรณีเงินอุดหนุนสำหรับเด็กเด็กนั้น เริ่มมาจากการรณรงค์เรียกร้องของ UNICEF และหลายองค์กร ในปี 2558 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเเห็นชอบให้เงินอุดหนุนในปีงบประมาณปี 2559 เป็นเงินคนละ 400 บาทต่อ เดือนเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นมติครม.ก็มีการขยายกลุ่มเป้าหมายและขยายฐานรายได้ของผู้จะได้รับเงิน อุดหนุนมาเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามมติครม.เพื่อให้ฐานของผู้จะได้รับเงินอุดหนุน กว้างขึ้นนั้น ยังมีปัญหาในเรื่องของการคัดกรองที่ไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย คือเด็กช่วง อายุ 1-3 เดือนมีพัฒนาการเติบโตเร็วมากและมีความต้องการพัฒนาตามวัยที่เติบโตขึ้น แต่ปรากฏว่าเรายังไม่ สามารถคัดกรองได้ว่าควรได้รับเงินอุดหนุนหรือไม่ เพราะมัวแต่ไปตรวจสอบเรื่องฐานรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาท ต่อปี ต้องรอหลักฐานและการส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบรายได้ เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นคนยากจน จริงหรือไม่ ตรงนี้ทำให้การได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาเด็กเล็กไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากกว่าจะ ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ตั้งแต่ลงทะเบียนกับ อปท.ส่งเรื่องมาถึงจังหวัด จนกระทั่งพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ยากจนจริง และได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง คนที่ไม่มีปัญหาจะใช้เวลาถึง 3 เดือน แต่กรณีที่มีปัญหาอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน ซึ่งเด็กโตขึ้นไปมากแล้ว แม้จะได้รับเงินตกเบิกย้อนหลัง แต่คงไม่สามารถนำเงินไปใช้เพื่อการพัฒนาเด็กให้สอด คล้องตามช่วงวัยของเด็กที่ต้องการการพัฒนาตามช่วงอายุไปแล้วได้ ตรงนี้ยอมรับว่ายังเป็นปัญหาอยู่  แม้กรมฯจะ พยายามแก้ปัญหาด้วยการลดขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิต่างๆแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถลดขั้นตอนในกระบวนการ กลั่นกรองให้เร็วขึ้นได้  นอกจากนี้อีกปัญหาก็คือ การตกสำรวจตามที่หลายท่านได้กล่าวไปแล้ว วิธีการกลั่นกรอง คือ กรมฯใช้อาสาสมัครชุมชนในพื้นที่ (อพม.) เป็นผู้เข้าไปตรวจสอบและตัดสินจากผู้ลงทะเบียนว่าสมควรได้รับ สิทธิหรือไม่ ซึ่งต้องตรวจสอบรายได้เข้าบัญชีต่อเดือน รายได้อาจอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 1 แสนต่อปี แต่มีบ้านที่ผ่อน เองเป็นคอนโดมิเนี่ยม หรือมีทรัพย์สินอื่นที่อาจทำให้สงสัยว่าเป็นผู้ยากจนจริงหรือไม่ และความสัมพันธ์ของ ผู้ตรวจสอบที่เป็นอาสาสมัครว่ารายได้อาจจะเกิน 1 แสนบาท แต่ก็เห็นชอบให้ได้รับสิทธิฯหรือไม่ ซึ่งเราตรวจสอบ ตรงนี้ไม่ได้ จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนและปัญหาแทบจะทุกขั้นตอนของการตรวจสอบที่ใช้ระยะเวลาและบุคลากรมาก กรมฯจึง เห็นด้วยว่าหากจะมีการให้สิทธิแบบถ้วนหน้าก็จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กเล็ก ที่ไม่ต้องตรวจสอบคุณสมบัติ ต่างๆ ลดขั้นตอนลงได้ เด็กได้รับประโยชน์อย่างรวดเร็วและไม่มีใครตกหล่นอีกด้วย

อย่างไรคือการดูแลและพัฒนา เด็กเล็กตามหลักสิทธิมนุษยชน

สุนี ไชยรส สิ่งที่เรากำลังพูดถึงกันคราวนี้กำลังมุ่งไปสู่ความเสมอภาคของสิทธิได้รับการดูแลด้านโภชนา การและสาธารณสุขของเด็กเล็กที่มิใช่เรื่องของการสงเคราะห์อีกต่อไป แท้จริงแล้วเป็นเรื่องของสวัดสิการสังคม เพื่อการคุ้มครองทางสังคมให้ได้รับความมั่นคงทางสังคมโดยรวมมิใช่การได้รับที่ละอย่าง ขณะนี้ประเด็นเรื่อง สวัสดิการสังคมของไทยมีความก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับ ผู้สูงอายุได้รับสวัสดิการอย่างถ้วนหน้า คนพิการ การรักษา พยาบาลและ การศึกษา 12 ปี ก็ได้รับถ้วนหน้า มีกลุ่มเดียวที่ยังไม่ได้รับถ้วนหน้าคือเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี ทำให้เห็น ภาพตามบทความอ.ป๋วยอึ๊งภากรณ์ เรื่องจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน[2]ว่ายังมีปัญหา

          อีกประการหนึ่งเรื่องสวัสดิการสังคมทุกรัฐบาลประกาศว่าทุกคนมีสิทธิพื้นฐานในการได้รับสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า แต่พอใครมีสิทธิประกันสังคม หรือรัฐมีมาตรการพิเศษเพื่อคนยากจนกลับบอกว่าไม่ต้องได้รับสวัสดิการ อื่นอีก ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะรัฐต้องจัดสิ่งที่เป็นพื้นฐานคือการได้รับถ้วนหน้าให้แก่ทุกคนก่อน หากรัฐจะสนับสนุน อะไรเพิ่มเติมก็ไม่ควรตัดสิทธิถ้วนหน้าที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น เรื่องเด็กเล็กก่อนหน้านี้ใครที่มีประกันสังคม ก็จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนอีก ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ไม่ถูกต้องเพราะสวัสดิการพื้นฐานต้องให้ทุกคนได้รับ และหากมี สวัสดิการอื่นที่ตนมีส่วนออกค่าใช้จ่ายเองก็ต้องให้ได้รับส่วนนั้นด้วย

          สำหรับเรื่องงบประมาณที่เป็นห่วงกันนั้น มีรายงานการวิจัยของหลายสถาบันตรงกันทั้งของ TDRI และของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ขอให้ดูจากตารางด้านล่างนี้

หากเป็นการอุดหนุนถ้วนหน้างบประมาณจะลดลงทุกปี ตั้งแต่ปี 2563 – 2567 จากจำนวนเด็กเล็กในตาราง 1 ที่จำนวนลดลงและเปรียบเทียบกับการได้รับสิทธิเฉพาะคนยากจนที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1 แสนบาท จะเห็นได้ว่า หากดูจากผู้ปกครองเด็กที่มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทที่มีการลงทะเบียนรับสิทธิในปี 2563  จำนวน 1.4  ล้านคน เศษ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1 หมื่นกว่าล้านบาท และในปีนี้ 2564 มีผู้ปกครองมาลงทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้าน กว่าคนใช้งบประมาณเพิ่มเป็นหนึ่งหมื่นห้าพันล้านบาทเศษ  ซึ่งแน่นอนว่ามีคนตกหล่นจำนวนมาก แต่หากรัฐ อุดหนุนแบบถ้วนหน้าจะมีเด็กที่ได้รับสวัสดิการโดยไม่ตกหล่น ในปี 2563 มีเด็กจำนวน 4,296,257 คน ใช้งบ ประมาณ 22,252.69 ล้านบาท และในช่องต่อไปจำนวนเด็กจะลดลงทุกปี งบประมาณที่ใช้ก็ลดลงตามส่วนตามไป ด้วย หากมีการดำเนินการตามมติ กดยช.ที่จะอุดหนุนถ้วนหน้าในปีงบประมาณ 2565 ก็จะใช้งบประมาณ 30,119.81 ล้านบาท ซึ่งต้องรีบให้มติครม.ผ่านโดยเร็วเพื่อทาง พม.ที่ได้เตรียมพร้อมไว้แล้วจะสามารถดำเนินการ บรรจุลงในงบประมาณจะทำให้สามาารถบริการ ได้อย่างรวดเร็วและทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็พอใจมาก ด้วยเพราะไม่ต้องมาคัดกรองอะไรให้ยุ่งยาก

          สิ่งที่เราเป็นห่วงก็คือหากยังไม่มีมติครม.อนุมัติให้อุดหนุนถ้วนหน้า ปัญหาเด็กตกหล่นก็จะยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งล้วนเป็นปัญหาติดขัดที่เราทราบดี ทั้งในเรื่องการคัดกรอง การจัดการลงทะเบียนและอื่นๆที่ได้พูดคุยก่อนหน้านี้ ส่วนเรื่องงบประมาณรัฐได้จัดสรรไว้แล้วสำหรับใช้ในปีนี้สำหรับคัดกรองผู้ปกครองที่ยากจน ซึ่งใช้งบประมาณ หมื่นห้าพันล้านบาทเศษ ถ้าครม.อนุมัติปีงบประมาณปี 2565 ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม ปีนี้ รัฐก็จะเพิ่มงบอีก เท่าตัวคือประมาณ 3 หมื่นล้านกว่าบาท ถามว่ารัฐบาลมีงบประมาณหรือไม่ ถ้าเราฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะเห็นว่ามีงบประมาณมากมายที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ ถ้าจะบอกว่าไม่มีเงินคงเป็นไปไม่ได้ เพราะเรายังมีเงินกู้ อีกหลายล้านๆบาท อยู่ที่ความจริงใจของรัฐว่าจะให้งบประมาณหรือไม่มากกว่า ซึ่งหากเราได้รับเงินอุดหนุน เด็กเล็กเดือนละ 600 บาทแล้ว การพัฒนาเด็กในด้านอื่นๆจะตามมาอีกมากที่รัฐสามารถให้การดูแลได้ ทั้งแม่ เลี้ยงเดี่ยว เด็กพิการ การดูแลเด็กชาติพันธุ์บนที่สูงต่างๆ คือมีงานอีกมากมายที่รัฐสามารถดำเนินการเพื่อพัฒนา เด็กได้ หากมีการอุดหนุนถ้วนหน้าแก่เด็กเล็ก ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่ตกหล่นมานาน 7-8 ปี ตั้งแต่เราเริ่มรณรงค์เป็นมา

ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ฐานคิดของการอุดหนุนเงินแก่เด็กเล็กถ้วนหน้านั้นมีนัยสำคัญคือเป็นสิทธิ ได้รับสวัสดิการสังคมสำหรับทุกคน ที่ไม่ใช่เป็นการสงเคราะห์สำหรับคนที่มีรายได้น้อย แบบที่กำลังดำเนินการอยู่ ในขณะนี้ ซึ่งการใช้วิธีการตรวจสอบสิทธิว่าเข้าข่ายคนมีรายได้น้อยหรือไม่คือวิธีคิดแบบการสงเคราะห์ ต้องเปลี่ยน วิธีคิดเช่นนี้ หลายคนอาจสงสัยว่าการได้รับสิทธิถ้วนหน้าจะทำให้คนที่มีฐานะดีอยู่แล้วก็ได้รับเงินอุดหนุนด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติหากครอบครัวใดมีฐานะดีแล้ว ก็อาจแสดงเจตนาสละสิทธิในเงินอุดหนุนนี้ เพื่อให้รัฐนำเงินไป ช่วยเหลือสวัสดิการด้านอื่นๆ ที่ยังมีผู้ต้องการได้อีกมากก็ได้ ในทางปฏิบัติก็มีช่องกำนดไว้ในการลงทะเบียน ให้กรอกว่าไม่ประสงค์รับสิทธินี้ ก็คืนให้รัฐไป เช่นกรณีเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ  ซึ่งคงต้องมีการณรงค์กันต่อไป ในอนาคต

ดังนั้นจึงขอย้ำอีกครั้งว่าการอุดหนุนถ้วนหน้าเป็นเรื่องของสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการจากรัฐ ไม่ใช่การ สังคมสงเคราะห์ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของรัฐและสังคมให้เข้าใจร่วมกัน

          ส่วนกรณีที่ว่าเรื่องการดูแลและพัฒนาเด็กมีหลายหน่วยงานหลายกรมหลายกระทรวงดูแลรับผิดชอบอยู่ เช่นเด็กพิการ เด็กที่ไม่มีผู้เลี้ยงดูก็ต้องไปอยู่ภายใต้หน่วยงานที่รับบุตรบุญธรรม หรือด้านการศึกษาก็มีกระทรวง ศึกษาฯดูแลอยู่ ประเด็นที่ว่าควรที่จะรวมศูนย์มาอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดี่ยวได้หรือไม่นั้น คิดว่า คงไม่เหมาะสมเพราะจะทำให้ทำงานไม่คล่องตัวและบริหารงานยาก แต่ควรกระจายกันอยู่แบบนี้และมีการ บูรณาการกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนนั้นอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็นหลัก ควรที่จะมีการบริหารเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานนี้ให้แก่ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง แต่ติดขัดเรื่องระเบียบต่างๆ เช่น ชั้นความลับของข้อมูลว่าใครควรมีสิทธิดูหรือเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้อปท.ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล ทำไม่ได้เพราะไม่ใช่ ผู้มีสิทธิ เป็นต้น ถ้าแก้ไขปัญหานี้ได้ก็จะทำให้การดูแลและพัฒนาเด็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประการต่อมาหากมี การบูรณาการกันแล้ว ต้องดำเนินการมิให้เกิดความซ้ำซ้อนการทำงานระหว่างหน่วยงานด้วย

ผอ.ปิยะวดี พงศ์ไทย  จริงๆแล้วก็เห็นด้วยอย่างที่อ.จาตุรงค์กล่าวว่าไม่ควรรวมหน่วยงานที่ทำงาน เรื่องเด็กมารวมไว้ด้วยกัน ตัวอย่างว่าถ้าให้รวมกันมาอยู่ที่ พม.จะยิ่งทำให้การดำนินงานล่าช้าออกไปจึงควรทำงาน แบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อมิให้มีการทำซ้ำซ้อนกัน ซึ่งขณะนี้ก็มีการบูรณาการกันในบางส่วนอยู่ เช่น การบูรณาการ การจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลที่ต้องการเข้าถึงสามารถเข้ามาดูและนำข้อมูลไปใช้ ประโยชน์ได้ระหว่างกระทรวง และวันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการจัดทำข้อมูลที่มีลักษณะ Big Data คือ สำนักงาน พัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือสพร.[3] ก็ติดต่อมาเพื่อจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีการ บังคับใช้เร็วๆนี้ ทำให้พบว่ากฎหมายก็เปิดช่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานได้ ในการดำเนินงานที่จำเป็นโดยไม่ต้องขออนุญาตหน่วยงานเจ้าของข้อมูล และขอเพิ่มเติมว่าการที่ได้มีภาคประชา สังคมเข้ามาช่วยกันผลักดันและขับเคลื่อนเทียบได้ว่าเป็นน้ำมันหล่อลื่นหรือตัวกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆได้มา ทำงานร่วมกันเรื่องเงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้านี้ ทำให้การดำเนินงานของกรมฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้า ได้ไวขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะอย่างที่ทราบคือส่วนราชการมักติดขัดเรื่องระเบียบต่างๆ แม้จะพยายามปรับ แก้ไขแล้วก็ยังไม่ทันการณ์ ประกอบกับภาคประชาสังคมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายและผู้ปฏิบัติ จึงทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างการทำงานร่วมกับองค์กร ภาคประชาสังคมในประเด็น สื่อออนไลน์สำหรับเด็ก ทางกรมฯไม่จำเป็นต้องจัดทำข้อเสนอไปถึงขั้นผ่านเป็นมติ ครม. แต่สามารถประสานงาน กับภาคประชาสังคมต่างๆที่เห็นปัญหาร่วมกันมาทำงานขับเคลื่อนในประเด็นนี้ ก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพ

ขอเพิ่มเติมความคืบหน้าของการดำเนินการให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าอีก 2-3 เรื่อง ประเด็นแรก ขณะนี้กรมฯได้รับทราบความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่รัฐมนตรีฯได้สั่งการเรียบร้อยแล้ว และได้ ประมวลวิเคราะห์ความเห็นส่งไปให้รัฐมนตรีฯ เพื่อนำเข้าครม. ต่อไป ประเด็นที่สองในปีงบประมาณ 2565 กรมกิจการเด็กและเยาวชนได้ตั้งเรื่องเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าไปยังสำนักงบประมาณเรียบร้อยแล้ว โดยมี เด็กเล็กที่เป็นเป้าหมายประมาณ 4.2 ล้านคน ขณะนี้อยู่ในการพิจารณษของสำนักงบประมาณ เพราะฉะนั้นคง ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะไม่มีเงิน หากครม.มีมติอนุมัติก็สามารถดำเนินการได้ทันที และกรมฯก็ได้ทำเรื่องขอใช้เงิน งบประมาณกลางไว้ด้วยหากครม.ยังอนุมัติไม่ทันในปีนี้ ก็ยังสามารถใช้งบกลางนี้อุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าในปี 2565 ได้แน่นอน ประเด็นต่อมาขณะนี้กรมฯได้รับงบประมาณบูรณาการดิจิทัล กำลังดำเนินการจัดทำระบบ เชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับทะเบียนราษฎร์ การตวจสอบข้อมูลผู้ลงทะเบียน และเลขบัญชีให้ถูกต้อง เพื่อแก้ไขปัญหาให้เงินเข้าถึงบัญชีผู้ลงทะเบียนที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อว่า ต่อไปจะทำให้การโอนเงินให้ อปท.สะดวกรวดเร็วขึ้นโดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในปีนี้ ประการสุดท้ายเรื่องการถ่ายโอนภารกิจการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กไปอยู่ในความรับผิดชอบของอปท. ขณะนี้อยู่ในระเบียบวาระของ ครม.เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นการเสนอของคณะกรรมการกระจายอำนาจ หากครม. มีมติตามที่เสนอ กรมฯจะจัดทำระเบียบเพื่อการถ่ายโอนอำนาจต่อไป

เชษฐา มั่นคง ต้องขอขอบคุณที่ทางกรมฯได้มีการเตรียมพร้อมรองรับความคืบหน้าต่างๆของโครงการเงินอุดหนุน เด็กเล็กถ้วนหน้า แต่สิ่งที่ภาคประชาชนยังคงเป็นห่วงอยู่ก็คือ เรื่องการเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบันให้มาก ที่สุด ทำอย่างไรจะให้ทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันแบบค้นหาได้ทันที แบบเดียวกับลิ้งค์ของหมอชนะที่เราไปอยู่ไหน ก็สามารถลงทะเบียนว่าอยู่ที่นี่ได้ เพราะอย่าลืมว่าเด็กเล็กอยู่กับผู้สูงอายุหรือมีการเคลื่อนย้ายตามครอบครัวตลอด เวลา หากระบบการเชื่อมโยงข้อมูลไม่เป็นปัจุบันอาจทำให้มีการตกหล่นเกิดขึ้นอีกและเราสามารถติดตามไป ส่งเสริมการพัฒนาเด็กเล็กยังถิ่นที่อยู่ได้อย่างต่อเนื่อง จึงขอฝากประเด็นนี้ให้กรมกิจการเด็กฯ ได้พิจารณาด้วย

          ตัวอย่างของประเทศในอาเซียนนั้น เช่น พม่า มีการให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กใน 1 รัฐ เวียดนามและกัมพูชา ก็มีการจัดเงินอุดหนุนให้เด็กแล้ว ส่วนมาเลเซียเริ่มเห็นความสำคัญกำลังมีการดำเนินการอยู่ ซึ่งจะเห็นว่าหลาย ประเทศเห็นความสำคัญของการอุดหนุนเด็กเล็ก ก็อยากให้บ้านเราดำเนินการให้เป็นจริงโดยเร็วที่สุด

รัฐธรรมนูญควรบัญญัติเรื่องการจัดการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กอย่างไร

สุนี ไชยรส จริงๆแล้วหากจะให้เรื่องเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้ามีประสิทธิภาพและ ดำเนินการได้เลยควรเขียนไว้ ในกฎหมาย กดยช. หากจะมีการเขียนในรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ต้องไปเขียนไว้ในหมวดสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้เป็นสิทธิของประชาชน ไม่ใช่เขียนแบบรัฐธรรมนูญ 2560 ว่าให้เป็นหน้าที่ของ รัฐ เพราะใครจะไปตรวจสอบได้ว่าถ้ารัฐไม่ทำตามหน้าที่แล้วจะเกิดอะไร โดยเขียนให้รัดกุมกว่านี้ในหมวดสิทธิ และเสรีภาพ ไม่จำต้องเขียนเฉพาะเจาะจงไปว่าเด็กถ้วนหน้า แต่ให้ใช้คำว่า”สวัสดิการสังคมถ้วนหน้า” สำหรับ ประชาชนทุกคน คือเขียนทำนองนี้จะทำให้ครอบคลุมบุคคลทุกคน และอาจจะมีมาตราที่เป็นเรื่องสวัสดิการ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการและกลุ่มอื่นๆอีกมาตราหนึ่ง รวมทั้งควรเขียนเหมือนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 เรื่องการจัดสรรงบประมาณเอาไว้ด้วยว่าให้คำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคลเพื่อความเป็นธรรม[4]   อีกประเด็นที่ยังเป็นห่วงอยู่แม้ว่าทางกรมกิจการเด็กฯจะเดินหน้า จัดทำงบประมาณล่วงหน้าไว้แล้ว ซึ่งต้องขอชมเชย แต่ก็ยังเกรงว่าหากยังไม่มีมติครม.อนุมติแล้ว สำนักงบฯจะกล้า ดำเนินการจัดงบเตรียมไว้ให้ได้หรือไม่ ก็ยังต้องรอมติครม.ด้วย 

ประเด็นสุดท้ายที่ควรต้องดำเนินการผลักดันต่อไปคือศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนทั้งในเมืองและชนบทหรือ

ในอปท.ต่างๆ จะรับดูแลเด็กเล็กตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ทำให้พ่อแม่ที่ไม่มีเวลาดูแลลูกอ่อนตั้งแต่แรกเกิดถึงสองขวบ ไม่รู้ จะเอาลูกไปไว้ที่ไหน ที่มีราคาถูกและมีคุณภาพ ปลอดภัย ซึ่งต้องมีการส่งเสริมและผลักดันต่อไปด้วย

ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร  เห็นด้วยว่าควรมีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและต้องเขียนให้รัดกุม โดยจะ เขียนไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพหรือหมวดหน้าที่ของรัฐก็ได้ แต่ถ้าอยู่ในหมวดสิทธิและเสรีภาพจะดูดีกว่า ขณะเดียวกันควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่ดูแลเด็กเล็กที่มีอยู่ให้ทันสมัยด้วย โดยอาจไม่ต้องร่างกฎหมายใหม่ เพราะค่อนข้างจะใช้เวลามาก สังเกตจากกรณีที่มีกฎหมายหลายฉบับถูกตีตกไปเพราะนายกรัฐมนตรีไม่ลงนาม เนื่องจากเป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งมักจะอ้างว่าไม่มีเงินบ้าง อะไรบ้าง เป็นต้น หากไปดูกฎหมายที่มีอยู่ จะเห็นว่า พรบ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย อาจสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้ เพราะใน กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมถึงเด็กกลุ่มต่างๆหลายช่วงวัย

          เรื่องสุดท้ายที่อยากฝากไว้และยังไม่ได้พูดถึงเลยก็คือ เราอยากเห็นเด็กอ่อนมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ อย่างไร ในการลงสนามทำวิจัยใจกลางกรุงเทพฯไม่ว่าจะที่เขตดุสิจและเขตราชเทวีในพื้นที่ชุมชนแออัด พบว่า เด็กแรกเกิดยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สกปรกไม่ถูกสุขอนามัยและโภชนาการ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพ ชีวิตให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นควรต้องมีการติดตามประเมินผลว่าการได้รับเงินอุดหนุนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กเล็ก ต้องติดตามด้วยว่านำเงินไปใช้อย่างไร และต้องส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้าน อื่นๆ ไปพร้อมๆ กันด้วย

เชษฐา มั่นคง เห็นด้วยเต็มที่ในการบัญญัติเรื่องการดูและและพัฒนาเด็กเล็กไว้ในรัฐธรรมนูญให้เป็น สวัสดิการถ้วนหน้าอย่างที่หลายท่านได้พูดไว้ แต่ขอพูดถึงการที่จะโอนภารกิจด้านเด็กเล็กไปให้ อปท.ตาม รัฐธรรมนูญ 2560 ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 250 เกี่ยวกับอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินกิจการ สาธารณะนั้น เป็นห่วงอยู่ว่าเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายของการบริการสาธารณะในความหมายของมาตรา นี้ แต่เด็กไม่สามารถมีสิทธิมีส่วนในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้คนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาบริหารท้องถิ่น ต่างจากผู้สูงอายุหรือคนพิการ ดังนั้นจึงไม่ใช่ให้เด็กได้รับเงินอุดหนุนแพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้มีการพัฒนา คุณภาพชีวิตด้านอื่นๆของเด็กเล็กด้วย ทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม โภชนาการ สุขภาพอนามัย ต่างๆ ที่ต้องให้ความรู้ แก่พ่อแม่และคนในชุมชนไปพร้อมๆกัน

ผอ.ปิยะวดี พงศ์ไทย เห็นด้วยว่าหากมีการบัญญัติให้ชัดเจนเรื่องการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กไว้ใน รัฐธรรมนูญจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ แต่หากจำเป็นต้องใช้เวลามากในการจัดทำหรือแก้ไขเพิ่มเติม แล้วจะไม่ทันการณ์ ก็ขอให้มาดูกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ เช่น พรบ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 มาตรา 26  ที่บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ต้องจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย รวมทั้ง ติดตามดูแลเด็กปฐมวัยให้ได้รับ สวัสดิการและบริการด้านการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง จากมาตรานี้ทำให้การทำงานด้านการพัฒนาเด็กเล็ก สามารถดำเนินการไปได้ตามที่องค์กรภาคประชาสังคมเป็นห่วง

          ประเด็นที่เป็นห่วงและขอให้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับเด็กเล็กก็คือ สื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบ ต่อพัฒนาการทางกาย สมอง พฤติกรรมและจิตใจของเด็กเล็ก ส่งผลให้มีเด็กเล็กถูกละเมิดผ่านทางสื่อดิจิทัล มากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง อยากให้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมการคุ้มครองเด็กในประเด็นนี้ด้วย

_______________________________

[1] GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หรือผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ หมายถึง การนับรายได้ที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าจะสัญชาติใดก็ตาม โดย GDP ประเทศไทย จะนับการคำนวณเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในไทยเท่านั้น แต่ถ้าเป็นคนไทยแล้วมีรายได้ที่ต่างประเทศ ไม่นับ โปรดดู https://www.finnomena.com/getwealthsoon/what-is-gdp/

[2] บทความ “คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน” เป็นบทความภาษาอังกฤษขนาด 2 หน้า  ที่ ดร.ป๋วย  อึ๊งภากรณ์  อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือน ตุลาคม  2516 ผู้สนใจสามารถติดตามได้จากเว็ปไซต์นักสื่อสารแรงงาน : https://voicelabour.org/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%95/

[3] สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สพร.” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Digital Government Development Agency (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “DGA” เป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล ทำหน้าที่ในการให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  สืบค้นได้ที่ https://oldweb.dga.or.th/th/profile_history/

[4] มาตรา 71 รัฐพึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สาคัญของสังคม จัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย อย่างเหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาการ สร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง รวมตลอดทั้งส่งเสริมและพัฒนาการ กีฬาให้ไปสู่ความเป็นเลิศและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

รัฐพึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและ ความสามารถสูงขึ้น

รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครอง ป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบาบัด ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระทำการดังกล่าว

ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐพึงคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความ เป็นธรรม