รายการ “สสส.เสวนาทัศนะ ครั้งที่ 7

วันที่ 27 ตุลาคม 2563

เรื่อง บทบาทรัฐสภากับปัญหาวิกฤตการเมือง

 

ผู้เข้าร่วมเสวนา

1. นายชวลิต วิชยสุทธิ์ สส.พรรคเพื่อไทย

2. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สส.พรรคพลังประชารัฐ

เกริ่นนำ

          นับแต่มีการชุมนุมทางการเมืองของนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้นายกรัฐมตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ ให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ บุคคลหลายฝ่ายได้ออก มาเรียกร้องให้แก้ไขวิกฤตทางการเมืองครั้งนี้ตามวิถีทางประชาธิปไตย โดยให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้ามาเป็นตัวกลางจัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นกันในรัฐสภา ต่อมานายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาจึงได้เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญขึ้น ในวันที่ 26-27 ตุลาคม 2563 เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภาใน 3 ประเด็น เพื่อหาทางออกร่วมกัน กล่าวคือ สถานการณ์ที่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาด โควิด -19 และการชุมนุมทางการเมืองในหลายพื้นที่ทั้งในส่วน กลางและต่างจังหวัด จะเกิดความ สุ่มเสี่ยงต่อการระบาดรอบใหม่และส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในระหว่างที่ ประเทศเปิดรับการท่องเที่ยว เหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมบางส่วนกับขบวนเสด็จพระราชดำเนิน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 จนมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และการขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณสี่แยกปทุมวันเมื่อคืนวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ด้วยการฉีดน้ำ แรงดันสูงและข้อกังวลเรื่องการสร้างความวุ่นวาย ระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมต่างกลุ่มเป็นเหตุให้เกิดการจราจลขึ้นใน บ้านเมือง  แต่ทั้ง 3 ประเด็นที่จะมีการอภิปรายกันในรัฐสภานั้นไม่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของฝ่ายผู้ชุมนุม จึงเกิดคำถามขึ้นว่า รัฐสภาจะเป็นทางออก ของวิกฤตการเมืองได้อย่างไร “สสส.เสวนาทัศนะ” วันนี้ จึงจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงระบบรัฐสภาในสังคม ประชาธิปไตย โดยเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมาเป็นผู้ร่วมเสวนาด้วย

หลักการของระบบรัฐสภาในการดุลและคานอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ มีตั้งแต่การตั้งกระทู้ถามทั่วไป ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบอย่างเบาไปจนถึงการเปิดอภิปราย ทั่วไปซึ่งเป็นระบบหนักที่สุด อีกระดับกลางๆ คือระบบคณะกรรมาธิการสามัญที่แบ่งฝ่ายการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ตามสัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีเสียงในสภา ฯซึ่งประธานกรรมาธิการต้องเป็นสส. หรือสว.และ กรรมาธิการ สามัญสามารถตั้งอนุกรรมาธิการจากบุคคลภายนอกผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆเข้ามาช่วยเหลืองาน การตรวจสอบก็ได้ ผมขอให้รายละเอียดดังนี้[1]

  1. การตั้งกระทู้ถาม คือ คำถามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ตั้งคำถาม

รัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่โดยจะถามเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ ตามข้อบังคับการประชุมแห่งสภา นั้น ๆ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาโดยไม่ต้อง แจ้งล่วงหน้าไว้ด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิ ที่จะไม่ตอบกระทู้เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้น ยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์ ของแผ่นดิน

  1. การเปิดอภิปรายทั่วไป

2.1 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อ เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ โดยมติไม่ไว้วางใจต้องมี คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ให้มีการลงมติไว้วางใจ หรือไม่ไว้วางใจในวันถัดไป

2.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรจะเข้าชื่อเพื่อ

เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติก็ได้

2.3 การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัย

หรือเศรษฐกิจของประเทศ สมควรที่จะปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี  ผู้นำฝ่ายค้านในสภา ผู้แทนราษฎรจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาก็ได้ ในกรณีนี้ประธาน รัฐสภาต้องดำเนินการให้มีการประชุม ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งแต่รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปราย มิได้ ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวให้ประชุมลับและคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมด้วย

2.4 การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหาร

ราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้

3. การตั้งคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็น คณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้ สภาทราบตามระยะเวลาที่สภากำหนดและกำหนดให้ เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในกิจการที่ คณะกรรมาธิการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาที่จะต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดหรือในกำกับให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสารหรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียก

          ขอยกตัวอย่างกรณีที่กรรมาธิการศึกษากรณีห้ามใช้สารพิษทางการเกษตร[2] เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 สภาผู้แทนราษฎรลงมติด้วยเสียงเอกฉันท์ 423 ต่อ 0  เห็นชอบรายงานและข้อเสนอของ “คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมี ในภาคเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร” ยืนยันการแบนสารเคมี กำจัดศัตรูพืชความเสี่ยงสูง 3 ชนิด จัดตั้งกองทุนเยียวยาเกษตรกรในระยะเปลี่ยนผ่าน ส่งเสริมจักรกลอัจฉริยะ การพัฒนาสารชีวภัณฑ์ สร้างระบบเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร และเดินหน้าปรับเปลี่ยนประเทศ ไปสู่การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนให้ได้ 100% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดภายในปี 2573 ซึ่งเป็นปีเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ  ซึ่งเมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติเช่นนี้ส่งให้รัฐบาลดำเนินการ รัฐบาลมีเวลาไม่เกิน 60 วัน ในการดำเนินการหรือไม่ตามข้อเสนอที่เป็นมติของสภา ฯ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา รัฐบาลก็แบน 2 ตัว อีกหนึ่งตัวให้ระงับการใช้ไว้ก่อน[3]  โดยคณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบให้คงมติการ แบนสารพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ตามมติเดิมเมื่อ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ไม่มีการผ่อนผันตามข้อเรียกร้องที่ขอให้ ขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายออกไป มติดังกล่าวเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อ วัตถุอันตราย กำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ใน ครอบครอง ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา หรือกรณีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง[4] ในวันที่ 23 มกราคม 2563 รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้พิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาและผลกระทบจากการ บังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ตามที่ สภาฯมอบหมายให้ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ฯ เป็นผู้พิจารณา โดยมีการรับฟังความเห็น และคำชี้แจง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า กฎหมายดังกล่าวจะทำให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีรายได้ ลดลง แม้จะมีงบประมาณจากรัฐบาลสนับสนุนเตรียมไว้ แต่กรณีที่อปท.ขาดรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างย่อมมีผลกระทบทำให้รายได้ของท้องถิ่นลดลง ทั้งนี้จากผลการศึกษาขอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตราพระราชกำหนดชะลอการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อปรับปรุงเนื้อหา ให้มีความพร้อม ให้มากกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้กมธ.ฯ ไม่มีจุดยืนจะไม่สนับสนุนการเก็บภาษี แต่การเก็บภาษีต้องมีหลักการที่ถูกต้องและเกิด ประโยชน์โดยไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ หลังจากที่สภาฯ ได้อภิปรายเสนอความเห็นจากการรับฟัง การอภิปรายไม่มี ส.ส. ไม่เห็นด้วยกับกมธ.ฯ ทั้งนี้เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอื่นถือว่า สภาฯให้ความเห็นชอบรายงานของกมธ. และสภาฯจะแนบ ข้อเสนอแนะของส.ส.ให้กับ คณะรัฐมนตรี (ครม.) และองค์กรที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาดำเนินการต่อไป

ประสิทธิผลของการตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยระบบคณะกรรมาธิการ

คณะกรรมาธิการมีอำนาจตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญในการเชิญหน่วยงานราชการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงและให้ความเห็นกรณีเรื่องที่มีการ้องเรียน ถ้าส่วนราชการไม่มาชี้แจงโดยไม่มีเหตุผล กรรมาธิการก็จะทำเรื่อง แจ้งให้หัวหน้าสูงสุดของหน่วยงานนั้นทราบ เพราะเรามีอำนาจตามกฎหมายในการเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ เว้นแต่มิให้มีการเรียกผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในกระบวนวิธี พิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กร    อิสระ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจโดยตรงในแต่ละองค์กรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณี[5]

แต่โดยส่วนตัวยังมองว่าระบบกรรมาธิการยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพคือไม่เข้มข้น เนื่องจากรัฐบาลยังไม่ ดำเนินการเต็มที่หรือไม่ดำเนินการอะไรเลยต่อข้อเสนอตามที่คณะกรรมาธิการได้ศึกษาและมีความเห็น ดังตัวอย่าง เช่นเรื่องสารพิษทางการเกษตร รัฐบาลก็มีวิจารณญานในการแบนสารพิษ 2 ตัว และอีกหนึ่งตัวให้ระงับการใช้ไว้ก่อน หรือกรณีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและภาษีโรงเรือนและที่ดิน สภาผู้แทนราษฎรเสนอให้ชลอการบังคับใช้ไว้ก่อน แต่รัฐบาลไม่เห็นด้วยไม่รับไปดำเนินการ แต่ให้นำภาษีบำรุงท้องที่และภาษี โรงเรือนและที่ดินบังคับใช้ไปพลางก่อน โดยลดอัตราภาษีลง 90 % ในช่วงการระบาดของโรคโควิด เป็นต้น หรือกรณีที่สมัยก่อนการสั่งคดีสามารถจบ ได้ภายในจังหวัดโดยคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ภายหลังระบบนี้ถูกยกเลิกไปโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศฉบับที่ 115/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความอาญา ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557  โดยมีเนื้อหาที่แก้ไข 3 ข้อ แต่เนื้อหาสำคัญ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 145/1[6] ซึ่งหัวใจสำคัญ ของประกาศฉบับนี้ก็คือ การเปลี่ยนระบบการถ่วงดุลการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีอาญาในต่างจังหวัด คือจากเดิม ในการสอบสวนคดีอาญาเมื่อพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องคดีอาญากับบุคคลใด และอัยการมีความเห็นแย้ง คือ “เห็นควรสั่งไม่ฟ้อง” ก็จะส่งสำนวนและความเห็นทั้งของตำรวจ และอัยการไปที่ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” นั้นๆ เพื่อให้ ผู้ว่าฯ มีความเห็นชี้ขาดว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งหากผู้ว่าฯ เห็นควรสั่งไม่ฟ้องตามอัยการจังหวัด เรื่องก็จบ แต่หากผู้ว่าฯเห็นแย้งกับอัยการ คือเห็นควรสั่งฟ้องตามพนักงานสอบสวน ก็จะต้องส่งสำนวนกลับไปให้อัยการสูงสุด ชี้ขาด

          สำนักข่าวอิศราตั้งข้อสังเกตว่า ประกาศฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงผู้มีหน้าที่ชี้ขาดจากเดิมคือ ผู้ว่าราชการ จังหวัด เป็นฝ่ายตำรวจคือกองบัญชาการภาค การแก้ไขดังกล่าวมีความพยายามเสนอมาหลายครั้ง แต่ยากที่จะ สำเร็จได้ เพราะฝ่ายรัฐบาลที่คุมกระทรวงมหาดไทยคงไม่ยอมลดอำนาจผู้ว่าฯ ลงแน่นอน แต่ในสถานการณ์ที่ คสช. มีอำนาจเด็ดขาดจึงไม่มีเสียงคัดค้านให้ได้ยินนัก[7]

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ระบบรัฐสภาของไทยมีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้มากน้อย เพียงใด        ที่ผ่านมาเข้าใจว่าระบบรัฐสภาก็สามารถตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการตรวจสอบระดับท้องถิ่นและในระดับโครงการต่างๆของรัฐ ยกเว้นในนกรณีของนโยบาย รัฐบาลและกรณีตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบ อันนี้ต้องส่ง ปปช.หรือปปท.แล้วแต่กรณี เพราะสภาฯ ไม่มีอำนาจตัดสินเรื่องทุจริตโดยตรงทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และผมเชื่อว่ารัฐสภายังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้จริง ส่วนที่ว่าประชาชนยังไม่ค่อยพอใจบทบาทของรัฐสภาในการทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลเมื่อเปรียบ เทียบกับโพลของไทยพีบีเอสที่ทำออกมาเป็น 5 เสียงบ่นของคนไทยนั้น อยากจะบอกว่า อย่างเช่นข้าวของแพง ความเป็นอยู่ของประชาชน หรือเรื่องโรงเรียน สภาก็ติดตามเรื่องหล่านี้อยู่ แต่ต้องเข้าใจว่าบางเรื่องเป็นปัญหา ทางโครงสร้างซึ่งสภาคงไม่สามารถเสนอกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ แต่สามารถนำเสนอต่อรัฐบาลในเชิง นโยบาย ส่วนว่าเมื่อเสนอไปแล้วรัฐบาลจะนำไปปฏิบัติมากน้อยแค่ไหนก็ต้องติดตามเป็นเรื่องๆไป ส่วนที่บอกว่าสภาฯ ควรมีบทบาทในการนำเสนอกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาหรือเปล่านั้น เช่นกรณีครูทำร้ายหรือลงโทษเด็กอนุบาลตามที่ เป็นข่าวในขณะนี้นั้น ผมมองว่าเราต้องแยกกฎหมายและการปฏิบัติออกจากกัน หมายความว่า ยกตัวอย่างเรื่องครู ลงโทษเด็กอนุบาล เราจะไปโทษว่ากฎหมายไม่ดีก็คงไม่ได้ เพราะพรบ.โรงเรียนเอกชนก็ดีหรือการประกอบวิชาชีพ ครูก็ดี เป็นกฎหมายที่ดีอยู่แล้ว แต่ต้องไปดูว่ามีการปฏิบัติให้เป็นตามกฎหมายหรือไม่ด้วย เพราะโดยมากเป็นเรื่อง การไม่ยินยอมปฏิบัติให้เป็นตามกฎหมายมากกว่า หรือหน่วยราชการที่ต้องบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ปฏิบัติ หรือเปล่า รวมถึงงบประมาณด้วยส่วนหนึ่ง ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับงบประมาณน้อยตามไปด้วย จึงไม่สามารถ จ้างครูที่มีคุณภาพมาสอนได้ เป็นต้น

          สำหรับเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ต้องมีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ราคาน้ำมัน ในตลาดโลก รัฐบาลก็มีโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การให้เงินช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน และรัฐไม่สามารถ ไปแทรกแซงราคาตลาดต่างๆได้

นายชวลิต วิชยสุทธิ์

          ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับคุณชัยวุฒิ ทั้งปัญหาทางโครงสร้างที่หมายถึงถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภาก็รับฟัง ข้อเสนอต่างๆของหลายฝ่าย และรัฐบาลก็รับปากว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

การชุมนุมของนักเรียน นักศึกษาและประชาชน รัฐสภาจะมีบทบาทกับวิกฤตนี้อย่างไร

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ พอดีผมก็กำลังจะไปประชุมวิปฝ่ายค้านและรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการชุมนุมและเรื่องรัฐธรรมนูญนี้ ต้องขอ อนุญาตให้ติดตามผลการประชุมทางสื่อมวลชนในช่วงคืนนี้ และขอขอบพระคุณทางรายการที่ให้เกียรติเชิญเข้าร่วม แลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ขอบพระคุณมากครับ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์  คือรัฐบาลก็กำลังจะแก้ไขปัญหาวิกฤตการชุมอยู่ โดยเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้ เป็นช่องทางหนึ่งในการหาทางออก โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดประกอบด้วยฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายผู้ชุมนุม นักวิชาการ ฝ่ายที่เห็นต่างจากผู้ชุมนุม รวมถึงฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งคงไม่ใช่ ตั้งคณะกรรมการแล้วจะประชุมเสร็จภายในวันสองวัน ก็คงต้องใช้เวลา ขอให้ใจเย็นๆ

เหตุผลของรัฐบาลที่ขอเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ[8] ไม่ตอบสนอง 3 ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม

คือจะเห็นได้ว่าข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ของผู้ชุมนุมมิได้มีเป้าประสงค์โดยตรงต่อรัฐบาลเท่านั้น แต่เรียกร้องไปถึง สิ่งที่อยู่สูงกว่ารัฐบาล และอาจจะเลยไปถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเลย และมีประชาชนอีกฝ่ายออกมาชุมนุม เรียกร้องให้ปกป้องสถาบัน ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องค่อยเป็นค่อยไป เรากำลังดูอยู่ ต้องใจเย็นๆ และมีอีกประเด็นหนึ่งที่รัฐสภากำลังพูดถึงอยู่ คือ เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็จะเป็นจุดหนึ่งในการหาทางออกที่มี หลายฝ่ายจะเข้ามาพิจารณาปัญหาร่วมกันของประชาชน รวมถึงการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ด้วย เพราะแม้ว่ารัฐธรรมนูญ 2560 จะไม่ค่อยมีปัญหามากนักเพราะผ่านประชามติมาแล้ว แต่เนื่องจากถูกครหาที่มา ของผู้ร่างมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ก็เป็นจุดอ่อนให้โจมตี รัฐบาลจึงเห็นว่าควรร่างใหม่

 ผมขอพูดในหลักการก่อนว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม กรณีที่รัฐบาลมีการสลายการชุมนุม ที่สี่แยกปทุมวัน ในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 นั้นต้องยอมรับว่าการชุมนุม นั้นเป็นการกระทบสิทธิประการอื่นของ ประชาชน การปิดถนนทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้รถใช้ถนนกลับบ้าน หรือเดินทางได้ ซึ่งถ้ารัฐบาลปล่อยไป ก็จะทำให้ประชาชนที่เดือดร้อนเกิดความไม่พอใจ ต้องเข้าใจจุดนี้ด้วย และนอกจากนี้ในที่ชุมนุมยังมีการกล่าวพาดพิง ถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ และอาจจะถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฟังจากเนื้อหาที่เค้าคุยกันที่พูดถึงสถาบันนั้น แสดงว่าไม่มีการเคารพสถาบันอย่างที่ผู้ชุมนุมพยายามอธิบาย เปรียบเทียบกับถ้าคุณมาชวนผมทานข้าว แต่คุณยังด่าผมอยู่ แล้วมาชวนไปกินข้าวมันก็ยังแปลกๆอยู่นะ ซึ่งประชาชนที่ฟังอยู่ก็จะไม่พอใจ

การประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญคราวนี้อาจยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดที่ถูกปลูกฝังความเชื่อ หรือถูกล้างสมอง ฝังชิปผ่านทางโซเชียลมีเดียเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ มาเป็น เวลายาวนานว่าต้องเปลี่ยนแปลงสังคม อนาคตเป็นของพวกเขา เขาต้องการการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต แต่คงไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยทันที ก็ต้องพยายามทำให้เขาเห็นว่าอนาคตที่ดีนั้นสามารถทำได้ทางการเมืองการปกครอง ผ่านรัฐบาลชุดนี้ โดยการค่อยๆปฏิรูปนักการเมือง เพื่อให้มีรัฐบาลที่ดีเข้ามาบริหารประเทศให้คนรุ่นใหม่ยอมรับว่า สามารถฝากความหวังไว้กับรัฐบาลนี้และมีอนาคตที่ดีได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้การชุมนุมต่างๆ ยุติลงได้ในที่สุด นอกจากนี้ คงไม่สามารถตอบได้ว่าการที่รัฐบาลขอเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญนั้นการะทำอย่างล่าช้าเกินไปเพราะผู้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลรับฟังเสียงเรียกร้องหรือข้อเสนอของผู้ชุมนุมมาตั้งแต่เดินกรกฎาคม สิงหาคม เพราะถึงอย่างไรก็ตาม การชุมนุมก็คงเกิดขึ้นอยู่ดี อย่างที่บอกว่าคนรุ่นใหม่ถูกฝังชิปมาเป็นเวลานานหลายปีในเรื่องการเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองผ่านโซเชียลมีเดีย เราจะไปเปลี่ยนความเชื่อของเขาในช่วงสั้นๆ นั้นคงทำไม่ได้ จึงต้องค่อยๆปรับ ค่อยๆ สื่อสารให้คนเหล่านี้เข้าใจซึ่งต้องใช้เวลา และโดยเฉพาะโซเชียลมีเดียเราก็จะต้องเข้าไปบริหารจัดการให้มากขึ้น โดยรัฐบาลจะสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น และนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลก็ต้องปรับปรุง การทำงานให้ประชาชนยอมรับมากขึ้น ให้คนรุ่นใหม่มีความหวังว่าภายใต้การเมืองการปกครองแบบนี้จะทำให้ เค้ามีชีวิตที่อยู่ดีกินดีได้

การเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญคราวนี้คงไม่สามารถตอบรับข้อเสนอทุกข้อของผู้ชุมนุมได้ เช่นเรื่องการ ปฏิรูปสถาบัน แต่ยอมรับข้อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อเสนอเรื่องให้นายกรัฐมนตรีลาออก ก็คงทำไม่ได้ เพราะจะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ว่าจะต้องไปหาคณะรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งไม่รู้ว่าจะไปหามาจากไหน ให้มีประสิทธิภาพ เหมือนรัฐบาลชุดนี้ ต้องไปหาพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ ต้องต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี เรื่องผลประโยชน์ เรื่องการทุจริต คอรัปชั่น รัฐบาลใหม่อาจอ่อนแอกว่าเดิมก็ได้และผู้ชุมนุมก็จะมีการไปกดดันรัฐบาลใหม่อีก การชุมนุมก็คงไม่จบ เพราะมีการเปลี่ยนรัฐบาล และทางออกของวิกฤตครั้งนี้คงไม่ไปไกลถึงขั้นยุบสภา เพราะต้องมีการไปหาเสียงเลือกตั้ง ภายใต้กติกาเดิม ซึ่งก็จะเป็นปัญหาอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้นขอให้ประชาชนอดทนและช่วยกันเพื่อให้ฝ่าวิกฤตครั้งนี้ ไปให้ได้

[1] คัดจากจาก ระบบรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย โดย สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปรับข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ : สืบค้นจากเว็บไซด์ chrome-extension://oemmndcbldboiebfnladdacbdfmadadm/file:///Volumes/External%20Drive/UCL-now/7-63/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2.pdf

[2] สืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN) https://www.thaipan.org/highlights/1311 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562

[3] สืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ไทยพีบีเอส https://news.thaipbs.or.th/content/296927 วันที่ 29 กันยายน 2563

[4] สืบค้นจากเว็บไซด์หนังสือพิมพ์แนวหน้า https://www.naewna.com/politic/468242

[5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 129  สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็น คณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา ๑๓๗ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบตามระยะเวลาที่สภากำหนด

การกระทำกิจการ การสอบหาข้อเท็จจริงหรือการศึกษาตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสภา และหน้าที่และอำนาจ ตามที่ระบุไว้ในการตั้งคณะกรรมาธิการก็ดี ในการดำเนินการของคณะกรรมาธิการก็ดี ต้องไม่เป็นเรื่องซ้ำซ้อนกัน ในกรณีที่การกระทำกิจการ การสอบหา ข้อเท็จจริง หรือการศึกษาในเรื่องใดมีความเกี่ยวข้องกัน ให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาที่จะต้องดำเนินการ ให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องทุกชุด ร่วมกันดำเนินการ

ในการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอำนาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทำการแทนมิได้

คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำ หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจ ในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระในส่วนที่เกี่ยวกับ การปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจโดยตรงในแต่ละองค์กรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี

ให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในกิจการที่คณะกรรมาธิการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาที่จะต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดหรือในกำกับ ให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสาร หรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียก

ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเปิดเผยบันทึกการประชุม รายงานการดำเนินการ รายงานการสอบหาข้อเท็จจริง หรือรายงานการศึกษา แล้วแต่กรณี ของคณะกรรมาธิการให้ประชาชนทราบเว้นแต่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี มีมติมิให้เปิดเผย

เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๔ ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่และผู้ปฏิบัติตามคำเรียกตามมาตรานี้ด้วย

กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร

ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๒๘ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนตามวรรคแปด

[6] “มาตรา 145/1 สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของ อัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทมมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผบ.ตร.หรือผช.ผบ.ตร. ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่ง เสนอผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาการของพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบ แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ในมาตรา 143

ในกรณีที่ผบ.ตร. รองผบ.ตร. ผช.ผบ.ตร. ในกรุงเทพมหานครหรือผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบในจังหวัดอื่นแย้ง คำสั่งของพนักงานอัยการให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพือชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความ หรือมีเหตุอย่างอื่นจำเป็นจะต้องรีบฟ้อง ก็ให้ฟ้องคดีนั้นตามความเห็นของผบ.ตร. รองผบ.ตร. ผช.ผบ.ตร. ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการดังกล่าวแล้ว แต่กรณีไปก่อน

บทบัญญัตินี้ให้นำมาบังคับ ในการที่พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ ฏีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฏีกาโดยอนุโลม”

[7] อ้างในบทวิเคราะห์เรื่อง คสช.แก้ป.วิอาญา ลดอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด ในการสั่งฟ้อง/ไม่ฟ้องคดี วันที่ 15 มิ.ย. 2558 โดยเว็บไซด์ไอลอว์  : https://ilaw.or.th/node/3720

[8] รัฐบาลทำจดหมายต่อประธานรัฐสภาเพื่อขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาปัญหาความขัดแย้ง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.การชุมนุมที่ต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯ และทั่วประเทศ ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ฝ่ายสาธารณสุขเกรงว่า จะเกิดโรคระบาด ได้ง่าย การชุมนุมกระทบต่อการยับยั้งโรค และความเชื่อมั่นของผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศ 2 การชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ผู้ชุมนุมบางส่วน

ได้ขวางทางและหยุดขบวนเสด็จพระราชดำเนิน 3 การสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ แยกปทุมวัน ในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เป็นไปตามหลักสากล เพราะผู้ชุมนุมมีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรง