แถลงการณ์ร่วม

สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล –FIDH

และองค์กรสมาชิก

สมาคมสิทธิมนุษยชนและการพัฒนากัมพูชา(ADHOC)

สันนิบาตกัมพูชาเพื่อการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน (LICADHO)

โครงการอินเตอร์เพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)

ขบวนการลาวเพื่อสิทธิมนุษยชน (LMHR)

มูลนิธิมนุษย MANUSHYA

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (UCL)

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเวียดนาม (VCHR)

 

 

กัมพูชา / ลาว / ไทย / เวียดนาม: เรียกร้องความยุติธรรมให้เหยื่อและครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย

 

กรุงเทพฯ, ปารีส, พนมเปญ, 30 สิงหาคม  พ.ศ.2563: เนื่องในโอกาสวันรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหายสากล องค์กรต่างๆ ของพวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับชะตากรรม หรือที่อยู่ของบุคคลทั้งหมดที่สูญหายไปในประเทศของท่าน และรับประกันว่าครอบครัวของเหยื่อสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างเพียงพอ

 

พวกเรา องค์กรต่างๆ ไม่สบายใจอย่างยิ่งกับความล้มเหลวของเจ้าหน้าที่ในประเทศทั้งสี่นี้ที่ไม่สามารถสืบสวนกรณีผู้สูญหายอย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว และผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ความล้มเหลวนี้ตอกย้ำให้เห็นว่ากรณีการบังคับให้สูญหายในกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนามเมื่อเร็วๆ นี้ เกิดขึ้นจากความพยายามที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลประเทศเหล่านั้นในการติดตามผู้คัดค้านและผู้วิพากษ์วิจารณ์ที่อยู่นอกเขตแดนของประเทศตนเพื่อลงโทษ จากเหตุที่เขาเหล่านั้นใช้สิทธิโดยสงบและชอบธรรม รวมถึงสิทธิในเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก

 

ล่าสุดคือการบังคับให้สูญหายในกรณีของนักเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นหนึ่งในสี่ประเทศเหล่านี้คือ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวชาวไทย ซึ่งมีผู้พบเห็นครั้งสุดท้ายเมื่อบ่ายวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จากคำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า วันเฉลิมถูกลักพาตัวไปจากหน้าคอนโดมิเนียมของเขาในพนมเปญโดยกลุ่มชายชุดดำที่ไม่ทราบเป็นใคร วันเฉลิมถูกลากขึ้นรถ SUV (รถยนต์เอนกประสงค์) สีดำเอาตัวไป

 

วันเฉลิมเป็นผู้หนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผยต่อรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2557-2562 และยังมีรายงานว่าเขาอยู่ในรายชื่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทย (หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ซึ่งตำรวจไทยได้ออกหมายจับไว้แล้ว. เขาได้หนีออกจากประเทศไทยภายหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557

 

การหายตัวไปของวันเฉลิมเกิดจากบริบทบนความพยายามอย่างต่อเนื่องของทางการไทยในการติดตามผู้คัดค้านที่หลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.2557    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมามีฝ่ายตรงข้ามรัฐไทยอีกอย่างน้อย 8 คนที่หลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านของไทยเป็นที่รู้กันว่าหายตัวไปภายใต้สถานการณ์ที่น่าสงสัย

 

นายอิทธิพร สุขแป้น หรือ ดีเจซุนโฮ และนายวุฒิพงศ์ กชธรรมกุล หรือที่รู้จักกันในชื่อโกตี๋ หายตัวไปในประเทศลาวในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2559 และกรกฎาคม พ.ศ.2560 ตามลำดับ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, นายชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือ “ภูชนะ” และนายไกรเดช ลือเลิศ หรือ ”กาสะลอง” ปรากฏตัวครั้งสุดท้ายที่เวียงจันทน์ประเทศลาวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2561 นักเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยทั้ง 5 คนได้หลบหนีไปลาวหลังการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 ในประเทศไทย ศพของชัชชาญ และไกรเดชถูกพบริมแม่น้ำโขงในจังหวัดนครพนมของไทยเมื่อปลายเดือนธันวาคมพ.ศ. 2561 ยังไม่ทราบชะตากรรมหรือเบาะแสของนักเคลื่อนไหวอีกสามคน

 

นักเคลื่อนไหวชาวไทยอีก 3 คน นายสยาม ธีรวุฒิ นายชูชีพ ชีวสุทธิ์ และนายกฤษณะ ทัพไทย ซึ่งหลบหนีจากประเทศไทยหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 ขอลี้ภัยในลาวก่อนที่จะย้ายไปเวียดนาม หลังจากพบเพื่อนนักเคลื่อนไหวชาวไทยในลาวเสียชีวิต จากข้อมูลขององค์กรไทยที่ลี้ภัยในสหรัฐฯเมื่อต้นปี พ.ศ.2562 ทางการเวียดนามได้จับกุมทั้ง 3 คนในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและใช้เอกสารเดินทางปลอม และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 ได้ส่งมอบตัวให้ทางการไทย จนถึงปัจจุบันยังไม่ทราบชะตากรรมหรือที่อยู่ของนักเคลื่อนไหวทั้งสาม

 

ในลาวยังไม่ทราบชะตากรรมและที่อยู่ของบุคคลอื่นอย่างน้อย 11 คน ได้แก่ : นายสมบัด สมพอน ผู้นำภาคประชาสังคมซึ่งมีผู้พบเห็นครั้งสุดท้ายเมื่อเย็นวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2555 ที่เวียงจันทน์  อีกเจ็ดคน (หญิงสองคนคือ-กิ่งแก้ว พงษ์สลี กับ สมจิต และชายเจ็ดคน – นายซูบินห์ นายซูอาน นายสินปาซอง นายคำโสน นายโน นายสมคิด และนายซูริกนา) ที่ถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยควบคุมตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2552 และสมพอน ขันติสุข เจ้าของธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ซึ่งถูกลักพาตัวไปในแขวงหลวงน้ำทา เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2560

 

ในประเทศไทยการหายตัวไปของนักเคลื่อนไหวคนล่าสุดคือ อ๊อด ศยาวง ซึ่งพบเห็นครั้งสุดท้ายในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. พ.ศ.2562  อ๊อด นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจากลาวรอการส่งไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามนับตั้งแต่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ในกรุงเทพฯได้ขึ้นทะเบียนเขาในฐานะบุคคลที่น่าห่วงใยในเดือนธันวาคม พ.ศ.2560  อ๊อดเป็นนักวิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาของรัฐบาลลาวและเป็นสมาชิกกลุ่มลาวเสรี“ Free Lao” ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานและนักเคลื่อนไหวชาวลาวที่ไม่เป็นทางการซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง

 

ก่อนนายอ๊อดหายตัวไป ในเดือนมกราคม พ.ศ.2562 นายเจียง ซุย เญิ๊ต นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวเวียดนามได้หายตัวไปในประเทศไทยซึ่งเขาได้หลบหนีจากเวียดนามเพื่อขอลี้ภัยทางการเมือง เป็นที่น่าสงสัยว่านายเญิ๊ต ถูกลักพาตัวโดยบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นใครในกรุงเทพฯก่อนที่จะถูกนำตัวกลับเวียดนามตามความประสงค์ของเขา ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 เขาถูกเปิดเผยว่าถูกคุมขังในห้องขังในฮานอย

การบังคับให้สูญหายเป็นการละเมิดสิทธิต่างๆมากมายรวมถึงสิทธิในเสรีภาพและความมั่นคงของบุคคลและถือเป็นการคุกคามอย่างร้ายแรงต่อสิทธิในการดำรงชีวิต สิทธิเหล่านี้ได้รับการรับรองโดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลเหล่านี้ที่ไม่สามารถตรวจสอบกรณีการสูญหายทั้งหมดอย่างเพียงพอถือเป็นการไม่ทำหน้าที่ตามข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพตามมาตรา 2 (3) ของ ICCPR กัมพูชา ลาว ไทยและเวียดนามล้วนเป็นรัฐภาคีของ ICCPR

 

นอกจากนี้เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลลาว ไทย และเวียดนามให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย (ICPPED) ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวไปกำหนดไว้ในกฎหมายภายในประเทศของตนและนำไปปฏิบัติ จนถึงปัจจุบันลาว และไทยแม้ได้ลงนามใน ICPPED ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2551 และมกราคม พ.ศ.2555 ตามลำดับ แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน เวียดนามไม่ได้ลงนามกับไม่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญานี้ กัมพูชาเข้าเป็นรัฐภาคีของ ICPPED ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556

 

อาชญากรรมจากการบังคับให้สูญหายถูกกำหนดไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสูญหายว่า “การจับกุม กักขัง การลักพาตัว หรือการลิดรอนเสรีภาพในรูปแบบอื่น ๆ โดยคนของรัฐหรือโดยบุคคลหรือกลุ่มคนที่ อนุญาต สนับสนุน หรือยอมรับจากรัฐ ตามด้วยการปฏิเสธที่จะรับทราบการลิดรอนเสรีภาพหรือโดยการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลที่หายตัวไปซึ่งทำให้บุคคลดังกล่าวอยู่นอกเหนือการคุ้มครองของกฎหมาย”

องค์กรของเราจะทำงานต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าการบังคับให้สูญหายจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปและเหยื่อทั้งหมดของการทำให้สูญหายสามารถกลับสู่ครอบครัวได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้เราจะยังคงให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของเหยื่อเพื่อหาความจริง ความยุติธรรม และความรับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่เลวร้ายนี้

 





 

FIDH International Federation for Human Rights

and its member organizations

Cambodia Human Rights and Development Association (ADHOC)

Cambodian League for the Promotion and Defense of Human Rights (LICADHO)

Internet Law Reform Dialogue (iLaw)

Lao Movement for Human Rights (LMHR)

Manushya Foundation

Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)

Union for Civil Liberty (UCL)

Vietnam Committee on Human Rights (VCHR)

 

Joint statement

 

Cambodia/Laos/Thailand/Vietnam: Address enforced disappearances, deliver justice for the victims and their families

 

Bangkok, Paris, Phnom Penh, 30 August 2020:  On the occasion of the International Day of the Victims of Enforced Disappearances, our organizations call on the governments of Cambodia, Laos, Thailand, and Vietnam to determine the fate or whereabouts of all victims of enforced disappearances in their respective countries and to ensure the victims’ families have effective access to justice and receive adequate reparations.

 

We are extremely disturbed by the dismal failure of the authorities in each of these four countries to adequately and effectively investigate cases of enforced disappearances, particularly those involving human rights defenders, activists, and government critics. This failure reinforces the perception that recent cases of enforced disappearances in Cambodia, Laos, Thailand, and Vietnam, occurred in a context of increasing efforts by the governments in each of these countries to pursue dissidents and critics beyond their national borders in order to punish them because of their peaceful and legitimate exercise of their rights, including the right to freedom of opinion and expression.

 

The latest case of enforced disappearance of an activist in one of the four countries was that of Thai activist Wanchalearm Satsaksit, who was last seen on the afternoon of 4 June 2020 in Phnom Penh, Cambodia. According to eyewitness testimonies, Wanchalearm was kidnapped in front of his condominium in Phnom Penh by a group of unidentified men dressed in black. Wanchalearm was taken away in a dark blue/black SUV.

 

Wanchalearm was an outspoken critic of the military junta that ruled Thailand between 2014 and 2019 and was also reported to be on a list of individuals accused of violating Article 112 of the Thai Criminal Code (lèse-majesté), for whom the Thai police had issued an arrest warrant. He had fled Thailand after the May 2014 military coup.

 

The disappearance of Wanchalearm occurred in the context of ongoing efforts by Thai authorities to pursue dissidents who fled to neighboring countries following the 2014 military coup. Since 2016, at least eight other Thai dissidents who fled to Thailand’s neighboring countries are known to have disappeared under suspicious circumstances.

 

Ittiphon Sukpaen aka DJ Sunho and Wuthipong Kachathamakul aka Ko Tee disappeared in Laos in June 2016 and July 2017 respectively. Surachai Danwattananusorn, Chatchan Buphawan aka Phu Chana, and Kraidej Luelert aka Kasalong were last seen in Vientiane, Laos, on 12 December 2018. All five Thai political activists had fled to Laos after the May 2014 coup in Thailand. The bodies of Chatchan and Kraidej were found by the Mekong River in Thailand’s Nakhon Phanom Province in late December 2018. The fate or whereabouts of the other three activists remain unknown.

 

Three other Thai activists, Siam Theerawut, Chucheep Chivasut, and Kritsana Thapthai, who also fled Thailand after the May 2014 coup, sought refuge in Laos, before moving to Vietnam after their fellow Thai activists in Laos were found dead. According to a Thai organization in exile in the US, in early 2019, Vietnamese authorities arrested the three for illegal entry and using fake travel documents and, in May 2019, handed them to Thai authorities. To date, the fate or whereabouts of all three activists remain unknown.

 

In Laos, the fate and whereabouts of at least 11 other individuals remain unknown. They include: civil society leader Sombath Somphone, who was last seen last seen on the evening of 15 December 2012 in Vientiane; seven persons (two women – Kingkeo Phongsely and Somchit and seven men – Soubinh, Souane, Sinpasong, Khamsone, Nou, Somkhit, and Sourigna) who were detained by security forces In November 2009; and Somphone Khantisouk, the owner of an eco-tourism business, who was abducted in Luang Namtha Province in January 2017.

 

In Thailand, the most recent disappearance of an activist was that of Od Sayavong, who was last seen in Bangkok on 26 August 2019. Od, a political activist from Laos, had been awaiting resettlement to a third country since the United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR) in Bangkok had registered him as a person of concern in December 2017. Od was an outspoken critic of the Lao government and a member of “Free Lao”, an informal group of Lao migrant workers and activists based in Bangkok and neighboring provinces.

 

Prior to Od’s disappearance, in January 2019, Truong Duy Nhat, a Vietnamese political activist, went missing in Thailand, where he had fled to from Vietnam to seek political asylum. It is suspected that Nhat was abducted by unknown individuals in Bangkok before being taken back to Vietnam against his will. In March 2019, he was revealed to be detained in a jail in Hanoi.

 

Enforced disappearances violate numerous rights, including the right to liberty and security of the person, and constitute a grave threat to the right to life. These rights are guaranteed by the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR). The ongoing failure by these governments to adequately investigate all cases of enforced disappearances is in breach of their obligation to fulfill the right to an effective remedy, which is guaranteed by Article 2 (3) of the ICCPR. Cambodia, Laos, Thailand, and Vietnam are all state parties to the ICCPR.

 

We also urge the governments of Laos, Thailand, and Vietnam to ratify the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance (ICPPED), incorporate its provision into their domestic legislation, and implement them. To date, Laos and Thailand have signed the ICPPED in September 2008 and January 2012 respectively, but have not yet ratified it. Vietnam has neither signed nor ratified the treaty. Cambodia became a state party to the ICPPED in June 2013.

 

The crime of enforced disappearance is defined by Article 2 of the International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance as “the arrest, detention, abduction or any other form of deprivation of liberty by agents of the State or by persons or groups of persons acting with the authorization, support or acquiescence of the State, followed by a refusal to acknowledge the deprivation of liberty or by concealment of the fate or whereabouts of the disappeared person, which place such a person outside the protection of the law.”

 

Our organizations will continue to work to ensure that enforced disappearances no longer occur and that all the victims of enforced disappearances can safely return to their families. We will also continue to provide assistance to the victims’ families in their quest for truth, justice, and accountability for this heinous crime.