โครงการประกวดบทความ

ประเด็น “ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกับสิทธิมนุษยชน”

หลักการและเหตุผล

          สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)  จะจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2563 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดประชุมพบปะร่วมกันของสมาชิก สสส.  ในการรับทราบและให้ความเห็นต่อผลการดำเนินงานในปี 2562  แลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในรอบปีที่ผ่านมา  และหารือถึงแนวทางการดำเนินงานต่อไปในอนาคต  ในโอกาสนี้คณะกรรมการสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชน จึงมีความมุ่งหมายให้คนหนุ่มสาวเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการมาทำงานร่วมกับสมาคมฯ  จึงได้จัดให้มีโครงการประกวดบทความในหัวข้อ “ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน” ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมใหญ่สามัญในปีนี้  เพื่อให้คนหนุ่มสาวในวัย 18-35 ปี ได้แสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ของประเทศไทยที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เชื่อมโยงกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในมุมมองที่หลากหลาย   กิจกรรมนี้จะพาคนหนุ่มสาวเข้ามารู้จัก สสส.  และสนใจทำงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อไป

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมให้คนหนุ่มสาวได้แสดงความคิดเห็นโดยการนำเสนอบทความและเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
  • เพื่อให้คนหนุ่มสาวได้มีบทบาทในการนำเสนอบทความในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2563
  • เพื่อเผยแพร่บทความในประเด็นความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณชน

ข้อกำหนดการเขียนบทความและหลักเกณฑ์การพิจารณาบทความ

  1. บุคคลที่ส่งบทความเข้าประกวด ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 – 35 ปี

  2. เป็นบทความที่เกี่ยวกับประเด็น “ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยกับสิทธิมนุษยชน” ซึ่งเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดหรือช่องทางใดมาก่อน หรือไม่อยู่ระหว่างการเสนอลงพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์หรือในทุกช่องทาง

  3. ส่วนประกอบของบทความประกอบด้วย
  • ชื่อเรื่องบทความ
  • ชื่อผู้เขียนและชื่อสถานที่ติดต่อ/โทรศัพท์/มือถือ/E-mail address/ID line โดยใช้เครื่องหมายทำเชิงอรรถท้ายหน้าแรก (Footnote)
  • บทคัดย่อ   
  • บทนำ ให้ข้อมูลและประเด็นสำคัญ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้น
  • เนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลข้อเท็จจริงที่นำเสนอ และ ความคิดเห็นของผู้เขียน
  • บทสรุป
  • หากมีการอธิบายข้อความของเนื้อหาในเนื้อเรื่อง ให้ใช้เชิงอรรถท้ายหน้า (Footnote)
  • การอ้างอิงแบบระบบนามปี แทรกในเนื้อหามีรูปแบบดังนี้ (ชื่อ-ชื่อสกุลผู้แต่ง,//ปีที่พิมพ์,//หน้าที่ใช้อ้างอิง) ตัวอย่าง (ประเวศ วะสี, 2552, หน้า 100)
  • เอกสารอ้างอิง ท้ายบทความให้ตรงกับการอ้างอิงในเนื้อหา โดยเขียนในรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงของบทความวิชาการในแบบทั่วไป
  1. ส่วนประกอบของบทความมีความยาว 5 – 10 หน้าพิมพ์ (กระดาษพิมพ์ขนาด A4) ต้นฉบับพิมพ์ด้วยโปรแกรม MS-Words for Windows อักษรภาษาไทย พิมพ์ด้วย TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษรดังนี้

      (1) ชื่อเรื่องมีขนาดอักษร 18/ตัวหนา

      (2) ชื่อนามสกุลผู้เขียน ที่อยู่ติดต่อ Email address เบอร์โทร มือถือ และ ID line มีขนาดอักษร 14/ปกติ  

      (3) ส่วนประกอบของบทความ และการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ขนาดอักษร 16/ปกติ

      (4) การอ้างอิง (Footnote) ขนาดอักษร 14/ปกติ

      (5) เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ขนาดอักษร 16/ปกติ  5) พิมพ์หน้าเดียวแบบ 1 คอลัมน์ กั้นหน้าและกั้นหลัง 3.17 ซ.ม.  กั้นหัวและท้ายกระดาษ 2.50 ซ.ม.

  1. หลักเกณฑ์การพิจารณาบทความ

(1) ชื่อเรื่อง และบทนำ (วัตถุประสงค์ของบทความ)            10 คะแนน

(2) ข้อมูล/ข้อเท็จจริง                                                         30 คะแนน

(3) ความคิดเห็นของผู้เขียน                                               30 คะแนน

(4) บทสรุปของบทความ                                                    20 คะแนน

(5) รูปแบบ ตัวอักษร ถูกต้องตามที่กำหนด                       10 คะแนน

รวมทั้งหมด                                                                     100 คะแนน 

  1. เงินรางวัล มี 4 รางวัล ดังนี้

รางวัลที่ 1                   5,000 บาท

รางวัลที่ 2                  4,000 บาท

รางวัลที่ 3                  3,000 บาท

รางวัลชมเชย            2,000 บาท      

  1. ผู้เขียนจะต้องแก้ไขบทความตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ

  2. ผู้เขียนจะต้องเขียนบทความเผยแพร่ จำนวน 1-2 หน้า ภายหลังการประกวดบทความเสร็จสิ้น โดยกองบรรณาธิการจะติดต่อให้ผู้เขียนเขียนบทความดังกล่าว

  3. เนื้อหา หรือ ข้อความในบทความถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียน โดยสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

  4. กองบรรณาธิการ และ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความที่ส่งเข้าประกวด ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์และทุกช่องทาง

  5. ผู้เขียนที่ได้รับรางวัลต้องมานำเสนอบทความในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2563 ของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

  6. การส่งบทความเข้าประกวดให้กับกองบรรณาธิการ ให้ส่งเป็นไฟล์ Words และ PDF พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และลงลายมือชื่อรับรองสำเนา ได้ที่
    Email: uclthailand@gmail.com  ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563
  1. ประกาศบทความที่ได้รับรางวัลทางเว็บไซด์ของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

     ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2563

 

องค์กรรับผิดชอบโครงการ  สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

สถานที่ติดต่อ : สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน  เลขที่ 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

ผู้ประสานงาน  นายอนุชา วินทะไชย มือถือ: 083-0796411 Email: uclthailand@gmail.com