แถลงการณ์
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเด็นสิทธิมนุษยชน
เนื่องด้วย สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคอุบัติใหม่ COVID 19 ที่คุกคามชีวิตมนุษยชาติทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง และทวีความรุนแรงมากขึ้น สสส.จึงออกแถลงการณ์แสดงความความห่วงใยและข้อกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ต่อสาธารณะ เพื่อยึดเป็นแนวทางและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ต่อหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนทุกคน ดังนี้
1. การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งนี้เป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความอยู่รอดของมนุษยชาติทั้งมวล ไม่ใช่ความอยู่รอดของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือชาติใดชาติหนึ่งเท่านั้น
2. เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถทำลายชีวิตมนุษย์ทุกคนโดยการแพร่กระจายจากคนสู่คนโดยตรงในระยะใกล้ชิด ด้วยเหตุดังกล่าว การถือเอาสิทธิการมีชีวิต (right to life) จึงต้องมาก่อนสิทธิเสรีภาพอื่น เช่น เสรีภาพในการเดินทาง สิทธิในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น
3. มาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพใดๆ ต้องมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิในการมีชีวิตเป็นสำคัญ แต่ต้องตั้งอยู่ภายใต้หลักการเท่าที่จำเป็นและสมเหตุสมผล และต้องให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและเสนอความเห็นตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์มาตรการการจำกัดสิทธิเสรีภาพเช่นว่าได้
4. รัฐทุกรัฐต้องระดมทรัพยากรทั้งปวงภายในรัฐหรือระหว่างประเทศเพื่อหยุดยั้งภัยของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การปล่อยให้บุคลากรทางการแพทย์ต้องเลือกช่วยชีวิตคนกลุ่มหนึ่งและทิ้งให้คนอีกกลุ่มต้องเผชิญกับความตายดังที่เกิดขึ้นในอิตาลีโดยนานาชาติเมินเฉยไม่ควรบังเกิดขึ้น
5. การคิดค้นผลิตยาและวัคซีนต้องเปิดให้ความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก รัฐทุกรัฐต้องมีมาตรการให้มนุษย์ทุกคนทั่วโลกเข้าถึงได้ใช้ยาและวัคซีนที่พัฒนาและผลิตขึ้นมาได้
6. ในกรณีที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน
6.1 การอ้างสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อละเว้นการไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต้องเป็นไปตามมาตรฐานของภาวะฉุกเฉินที่ “คุกคามความอยู่รอดของชาติ” ตามที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยรัฐสภาควรมีบทบาทมากขึ้นในการกำกับดูแลสถานการณ์ฉุกเฉิน
6.2 การจำกัด หรือยกเว้นการปฏิบัติตามสิทธิที่ได้รับการรับรองระหว่างประเทศควรกระทำในช่วงเวลาที่จำกัด เท่าที่จำเป็นอย่างเคร่งครัดและได้สัดส่วนเหมาะสมกับภัยคุกคามที่เป็นอยู่
6.3 มาตรการต่างๆ ถูกใช้เพื่อจำกัดสิทธิอื่นๆ ได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อแก้ไขเหตุที่เป็นเป็นภัยคุกคามความอยู่รอดของชาติอย่างเคร่งครัด แต่มาตรการดังกล่าวนั้นไม่อาจส่งผลเป็นการระงับการใช้สิทธิอื่นใดโดยสิ้นเชิงได้
6.4 ความจำเป็นดังกล่าวนี้จำต้องมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อว่ามาตรการจำกัดสิทธิต่าง ๆ จะถูกนำมาใช้ภายในห้วงเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนบางประเภท ได้แก่ สิทธิในการมีชีวิต สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน หรือถูกประติบัติอย่างโหดร้าย องค์ประกอบที่สำคัญบางประการของการจำกัดเสรีภาพโดยพลการ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และสิทธิในการได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิผล ไม่สามารถที่จะถูกจำกัดได้แม้ว่าประเทศจะอยู่ในภาวะฉุกเฉินก็ตาม
6.5 ควรมีการกำหนดอย่างชัดเจนว่า เจ้าพนักงานท่านใดมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ข้อบัญญัติตามกฎหมายในภาวะฉุกเฉิน และต้องกำหนดว่าเจ้าพนักงานนั้นมีอำนาจและหน้าที่เพียงใด
6.6 เจ้าพนักงานซึ่งบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต้องปฏิบัติตนตามกฎหมายทั่วไปของประเทศนั้น โดยไม่มีการงดเว้นความผิดในทางอาญาอันเนื่องมาจากการที่เจ้าพนักงานใช้อำนาจตามกฎหมายในภาวะฉุกเฉิน
6.7 การตัดสินใจและดำเนินงานของเจ้าพนักงานที่ใช้อำนาจตามกฎหมายในภาวะฉุกเฉินควรถูกตรวจสอบได้โดยศาล
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
25 มีนาคม 2563
COVID-19 Crisis and Human Rights
1. COVID-19 pandemic is a serious threat to survival of the whole human kind, not just specific group of people or nation.
2. COVID-19 pandemic is fueled by direct close human contacts and a threat to life of every human being. The ‘Right to Life’ therefore must be protected as a top priority over other rights and freedom, such as right to travel and right to religious practices, for example.
3. Any measure to restrict any right and freedom in relation to COVID-19 pandemic must be imposed only as necessary and with clear reasons for protection of the Right to Life. Every person impacted by such measures to restrict rights and freedom must have full access to related information and has right to check and comment on the measures.
4. All states must mobilise available resources domestically and internationally to work together to stop or mitigate threats from COVID-19 pandemic. Letting medical personnel in specific country/area to have to choose to save lives of some infected persons and allow other infected persons to face possible death by international community like what is happening in Italy should not happen.
5. Development and production of medicine and vaccine in response to COVID-19 pandemic must open for full medical cooperation of scientists all around the world with priority to save lives, not for commercial purpose or domination. Resulting effective medicine and vaccine must be made accessible to all persons all around the world.
6. In case that a State of Emergency is declared in any state, any emergency ordinance to address COVID-19 pandemic must conform to international laws.
6.1 A state of emergency used to justify any permissible derogation from obligations under international human rights law must meet the standard that an emergency “threatens the life of the nation”, as set out in the International Covenant on Civil and Political Rights. Parliament should play an active role in providing oversight.
6.2 Any limitations on or derogation from the exercise of internationally guaranteed rights should be limited in duration, strictly necessary, and proportionate to the specific threat posed.
6.3 Derogating measures may only limit the scope of other rights to the extent strictly necessary to meet a threat to the life of the nation, but they may not suspend the applicability of any right in its entirety.’
6.4 This necessity must be continually re-assessed so that the derogating measures apply for the shortest time possible. Certain human rights, including the right to life, the freedom from torture or ill-treatment, the essential elements of arbitrary deprivation of liberty and to a fair trial and the right to an effective remedy can never be restricted even in a state of emergency.
6.5 It should be clearly stated which officials have responsibility for implementing the provisions of the emergency law and what their powers and responsibilities are.
6.6 All officials responsible for implementing the law should be explicitly stated to be under the authority of the ordinary law of the state, with no immunity for any criminal acts carried out in the exercise of their responsibilities.
6.7 The decisions and actions of officials exercising powers under the emergency law should be subject to review by the courts.
Union for Civil Liberty, Thailand
25 March 2020
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) Union for Civil Liberty (UCL.)