กลุ่มประชาสังคมเรียกร้องให้ลาวกับไทยสอบสวนการถูกบังคับสูญหาย เปิดเผยชะตากรรมของสมบัติ สมพอน และออด สายะวง

วันที่ 15 ธันวาคม 2562 นี้เป็นวันครบรอบเจ็ดปีการถูกบังคับสูญหายของนายสมบัติ สมพอน ผู้นำประชาสังคมชาวลาว  เรา องค์กรที่ร่วมลงนามท้ายคำแถลงนี้ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาวและรัฐบาลไทยสอบสวนการถูกบังคับสูญหาย และเรียกร้องให้ทางการเวียง จันทน์ เปิดเผยในที่สุดถึงสถานที่อยู่ของสมบัติ และทำให้แน่ใจว่าเขาและครอบครัวได้รับความยุติธรรม

เมื่อพิจารณาถึงความล้มเหลวอย่างยืดเยื้อยาวนานของตำรวจลาวในการสอบสวนอย่างมีประสิทธิผลต่อการถูกบังคับสูญหายของสมบัติแล้ว จึงเห็นควรให้มีการตั้งหน่วยสอบสวนใหม่ที่เป็นอิสระและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดขึ้นอย่างไม่ล่าช้ามาทำภารกิจในการค้นหาว่า ชะตากรรมของสมบัติเป็นเช่นไรและเขาอยู่ที่ไหน  หน่วยใหม่นี้ควรมีอำนาจที่จะเสาะหาและได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากนานาชาติ เพื่อที่จะทำการสอบสวนอย่างเป็นมืออาชีพ เป็นอิสระ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และมีประสิทธิผล ตามมาตรฐานสากล

มีผู้พบเห็นสมบัติเป็นครั้งสุดท้ายที่ด่านตรวจของตำรวจบนถนนสายหนึ่งที่วุ่นวายในนครเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ตอนเย็นของวันที่ 15 ธันวาคม 2555  ภาพบันทึกจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแสดงว่าพาหนะของสมบัติถูกหยุดที่ด่านตรวจแห่งนั้น และภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที บุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นใครบังคับเขาเข้าไปในยานพาหนะอีกคันและขับพาเขาออกไปต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพบันทึกจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดยังแสดงให้เห็นบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นใครขับยานพาหนะของสมบัติออกไปจากใจกลางเมืองด้วย  การมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ขณะที่มีการลักพาตัวสมบัติไปและความล้มเหลวของพวกเขาที่จะเข้าแทรกแซงอย่างแข็งขันบ่งชี้การมีส่วนร่วมของหน่วยงานรัฐในการถูกบังคับสูญหายของสมบัติ

ทางการลาวได้กล่าวอ้างซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าพวกเขาได้สอบสวนการถูกบังคับสูญหายของสมบัติ แต่ได้ล้มเหลวที่จะเปิดเผยการค้นพบใหม่ใดๆ ต่อสาธารณะชนนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2556 เป็นต้นมา  พวกเขาพบกับชุยเหมิงอึ้ง ภรรยาของสมบัติ เพียงสองครั้งนับแต่เดือนมกราคม 2556 ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม 2560  ตำรวจไม่เคยแบ่งปันข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญใดเกี่ยวกับการสอบสวนให้กับครอบครัวของสมบัติ บ่งชี้ว่า ด้วยความตั้งใจและความมุ่งหมายทั้งปวง การสอบสวนของตำรวจถูกพักไปแล้วโดยพฤตินัย

เราเรียกร้องด้วยให้รัฐบาลลาวและรัฐบาลไทยแก้ไขกรณีการถูกบังคับสูญหายทุกกรณีในประเทศของตน กรณีล่าสุดคือกรณีของออด สายะวง ผู้ลี้ภัยชาวลาวที่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งหายตัวไปตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2562  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ออดได้เข้าร่วมทางสาธารณะในการดึงความสนใจไปที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนและการฉ้อโกงในลาว และพบกับผู้สื่อข่าวพิเศษด้านความยากจนสุดขีดและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2562 ในกรุงเทพฯ ก่อนหน้าที่ผู้สื่อข่าวพิเศษดังกล่าวจะมีภาระกิจไปเยือนลาว คณะทำงานว่าด้วยการถูกบังคับสูญหายหรือสูญหายอย่างไม่สมัครใจกับผู้สื่อข่าวพิเศษขององค์การสหประชาชาติสามคนได้ออกคำแถลงร่วมมาฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 แสดงความกังวลเกี่ยวกับกรณีของออดนี้[1]

เรายังปรารถนาจะขอให้สนใจเป็นพิเศษต่อรายงานว่า อิทธิพล สุขแป้น, วุฒิพงษ์ คชาธรรมากุล, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, ชัชชาญ บุปผาวรรณ และไกรเดช ลือเลิศ คนไทยห้าคนผู้วิพากษ์วิจารณ์พระราชวงศ์และรัฐบาลทหารของไทยและอาศัยลี้ภัยอยู่ในลาวนั้น ได้หายตัวไประหว่างเดือนมิถุนายน 2559 ถึงธันวาคม 2561  ในกรณีของสามคนหลัง มีการพบร่างของชัชชาญกับไกรเดชสามสัปดาห์ต่อมาบนฝั่งไทยของแม่น้ำโขง ถูกตัดเป็นชิ้นและยัดคอนกรีต ในขณะที่มีรายงานว่าร่างที่สามซึ่งอาจจะเป็นของสุรชัยโผล่มาใกล้กันแล้วก็หายไป  การทดสอบดีเอ็นเอในเดือนมกราคม 2562 ยืนยันว่าสองร่างแรกเป็นของชัชชาญกับไกรเดช

เราขอเรียกร้องรัฐบาลลาวและรัฐบาลไทยให้สอบสวนกรณีเหล่านี้ตามมาตรฐานทางกฎหมายสากลโดยมุ่งไปหาว่าชะตากรรมของพวกเขาเป็นเช่นไรและพวกเขาอยู่ที่ไหน

ทั้งรัฐบาลลาวและรัฐบาลไทยมีพันธะทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินการสอบสวนอย่างรวดเร็ว ถี่ถ้วน และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และนำทุกคนที่สงสัยว่ารับผิดชอบทางอาญาต่ออาชญากรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเลวร้าย มาดำเนินการให้เกิดความยุติธรรมในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม

เรายังขอเรียกร้องให้รัฐบาลลาวและรัฐบาลไทยให้สัตยาบันอย่างไม่รอช้าต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปกป้องทุกคนจากการถูกบังคับสูญหาย ซึ่งลาวและไทยได้ลงนามแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2551 และมกราคม 2555 ตามลำดับ เพื่อนำบทบัญญัติของอนุสัญญาดังกล่าวมาบรรจุไว้ในกรอบกฎหมายในประเทศ นำไปใช้ในทางปฏิบัติ และยอมรับความสามารถของคณะกรรมการว่าด้วยการถูกบังคับสูญหายในการรับและพิจารณาการสื่อสารจาก หรือในนามของ เหยื่อหรือรัฐภาคีอื่น

ในท้ายที่สุด เราขอเรียกร้องให้ประชาคมสากลใช้โอกาสที่จะมีการทำ Universal Periodic Review (UPR) ของลาวที่จะมาถึง มาเรียกร้องให้รัฐบาลลาวสอบสวนการถูกบังคับสูญหายของสมบัติ สมพอน อย่างไม่รอช้าและอย่างมีประสิทธิผล  UPR ครั้งที่สามของลาวมีกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 21 มกราคม 2563 ในนครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

ในระหว่างที่มี UPR ครั้งที่สองในเดือนมกราคม 2558 รัฐสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ 10 ประเทศ อันได้แก่ ออสเตรเลีย คานาดา ฟินแลนด์ เยอรมนี ลักเซ็มเบอร์ก โปแลนด์ โปรตุเกส สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักรอังกฤษ แนะนำให้รัฐบาลลาวดำเนินการสอบสวนให้เพียงพอต่อการถูกบังคับสูญหายของสมบัติ

ตราบจนกระทั่งชะตากรรมและที่อยู่ของคนที่ถูกบังคับให้สูญหายได้รับการเปิดเผยออกมา ประชาคมสากลควรไม่หยุดเรียกร้องให้พวกเขาได้รับการนำตัวกลับมาสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัย  รัฐบาลลาวควรจะไม่อยู่ภายใต้ภาพลวงตาใดว่าการเรียกร้องของเราจะหายไป เราจะยืนกรานจนกระทั่งเราได้รับคำตอบที่แท้จริงของคำถามที่ว่า “สมบัติอยู่ที่ไหน?”

 

ลงนามโดย

  1. 11.11.11
  2. Action from Ireland (Afri)
  3. Alliance Sud
  4. Alternative ASEAN Network on Burma (ALTSEANBurma)
  5. Alyansa Tigil Mina (Alliance to Stop Mining)
  6. Amnesty International
  7. Armanshahr / OPEN ASIA
  8. Article 19
  9. ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR)
  10. Asia Europe Peoples Forum
  11. Asian Federation Against Involuntary Disappearances (AFAD)
  12. Asian Forum for Human Rights and Development (FORUMASIA)
  13. Asian Resource Foundation
  14. Association of Women for Awareness and Motivation (AWAM)
  15. Awaz Foundation Pakistan Centre for Development Services
  16. Banglar Manabadhikar Sutaksha Mancha (MASUM)
  17. Cambodian Human Rights and Development Association (ADHOC)
  18. CCFDTerre Solidaire
  19. Center for Human Rights and Development (CHRD)
  20. Centre for the Sustainable Use of Natural and Social Resources (CSNR)
  21. China Labour Bulletin (CLB)
  22. CIVICUS: World Alliance for Citizen Participation
  23. Civil Rights Defenders
  24. Commission for the Disappeared and Victims of Violence (KontraS)
  25. Community Resource Centre (CRC)
  26. Community SelfReliance Centre (CSRC)
  27. DIGNIDAD Coalition
  28. Dignity Kadyrkassiyet (KK)
  29. Equality Myanmar
  30. Europe solidaire sans frontières (ESSF)
  31. Families of Victims of Involuntary Disappearance (FIND)
  32. FIAN International
  33. FIDH International Federation for Human Rights
  34. Focus on the Global South
  35. Fresh Eyes People to People Travel
  36. Front Line Defenders
  37. Global Justice Now
  38. Globe International
  39. Human Rights and Development Foundation (HRDF)
  40. Human Rights Commission of Pakistan (HRCP)
  41. Human Rights in China (HRIC)
  42. Human Rights Watch (HRW)
  43. Indonesian Legal Aid Foundation (YLBHI)
  44. INFORM Human Rights Documentation Centre
  45. International Commission of Jurists (ICJ)
  46. Internet Law Reform Dialogue (iLaw)
  47. Justice for Iran (JFI)
  48. Karapatan Alliance Philippines (Karapatan)
  49. Kazakhstan International Bureau for Human Rights and the Rule of Law (KIBHR)
  50. Korean House for International Solidarity (KHIS)
  51. Land Watch Thai
  52. Lao Movement for Human Rights (LMHR)
  53. Lawyers’ Rights Watch Canada (LRWC)
  54. League for the Defence of Human Rights in Iran (LDDHI)
  55. MADPET (Malaysians Against Death Penalty and Torture)
  56. Maldivian Democracy Network (MDN)
  57. Manushya Foundation
  58. MONFEMNET National Network
  59. National Commission for Justice and Peace (NCJP)
  60. Nomadic Livestock Keepers’ Development Fund
  61. Odhikar
  62. People’s Solidarity for Participatory Democracy (PSPD)
  63. Peoples Empowerment Foundation (PEF)
  64. Peoples Vigilance Committee on Human Rights (PVCHR)
  65. Peoples Watch
  66. Philippine Alliance of Human Rights Advocates (PAHRA)
  67. Programme Against Custodial Torture & Impunity (PACTI)
  68. Psychological Responsiveness NGO
  69. Pusat KOMAS
  70. Right to Life Human Rights Centre (R2L)
  71. Rights Now Collective for Democracy (RN)
  72. South India Cell for Human Rights Education and Monitoring (SICHREM)
  73. Stiftung Asienhaus
  74. STOP the War Coalition Philippines (StWCPhilippines)
  75. Sustainability and Participation through Education and Lifelong Learning (SPELL)
  76. Taiwan Association for Human Rights (TAHR)
  77. Tanggol Kalikasan Public Interest Environmental Law Office (TK)
  78. Task Force Detainees of the Philippines (TFDP)
  79. The Corner House
  80. Think Centre
  81. Transnational Institute
  82. Union for Civil Liberty (UCL) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  83. Vietnam Committee on Human Rights (VCHR)
  84. Vietnamese Women for Human Rights (VNWHR)
  85. Woman Health Philippines
  86. Womens Rehabilitation Centre (WOREC)
  87. World Organisation Against Torture (OMCT)
  88. World Rainforest Movement (WRM)

บุคคล

Andy Rutherford

Anuradha Chenoy

David JH Blake

Glenn Hunt

Jeremy Ironside

Jessica diCarlo

Kamal Mitra Chenoy

Mary Aileen D. Bacalso

Miles KenneyLazar

Nico Bakker

Philip Hirsch


[1] OHCHR, Thailand/Lao PDR: UN experts concerned by disappearance of Lao human rights defender, 1 October 2019, available at: https://www.ohchr.org/EN/NewsEvents/Pages/DisplayNews.aspx?NewsID=25087&LangID=E