ความเป็นมา
ด้วยความปรารถนาที่จะเห็นการพัฒนาของสังคมไทยได้ก้าวรุธหน้าไปอย่างมีเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพในหมู่คนไทยด้วยกัน การสร้างสรรค์และส่งเสริมให้แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนได้ซึมซับเข้าไปในวิถีชีวิตของประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะบทเรียนในอดีตได้สอนให้เราตระหนักว่า “มีแต่การที่มนุษย์เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ และให้เกียรติซึ่งกันและกันเท่านั้น จึงจะนำมาซึ่งสันติสุขในสังคม
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2516 นักศึกษา นักวิชาการ ทนายความ และประชาชนจากสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่ตระหนักในคุณค่าแห่งสิทธิและเสรีภาพ ได้ร่วมกันก่อตั้ง สสส. ขึ้นในนาม “สหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน” ทั้งนี้เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือและพิทักษ์สิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนผู้ถูกละเมิดขั้นพื้นฐาน และเพื่อเผยแพร่แนวคิด ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิธิมนุษยชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป
สสส. ได้ดำเนินกิจกรรมในการพิทักษ์ และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา เช่น การบริการอรรถคดี เผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมาย รณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม สนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ ฯลฯ
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2526 สสส. ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคม จึงเปลี่ยนชื่อจากสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน มาเป็น “สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)”
วัตถุประสงค์
หลักการในการดำเนินงาน
กิจกรรม – งานของ สสส.
งานรณรงค์ ดำเนินการรณรงค์ปัญหาสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เช่น การยกเลิกโทษประหารชีวิตประเทศไทย การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
งานศึกษาวิจัย สสส. จัดให้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้านต่าง ๆ และการแสดงทัศนะต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แล้วนำออกเผยแพร่ ในรูปแบบแถลงการณ์ จดหมายเปิดผนึก รายงานสถาการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนประจำปี
งานเอกสารสิ่งพิมพ์ สสส. ได้จัดทำหนังสือรายงานการศึกษาโทษประหารชีวิต รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน หนังสือเล่ม เพื่อเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสารตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่ สสส. จัดขึ้น
งานเสริมความรู้ทางกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ อนุสัญญา และกติการะหว่างประเทศว่าสิทธิมนุษยชนและกฎหมายให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานและสามารถนำหลักปฏิบัติและข้อกฎหมายไปใช้พิทักษ์สิทธิของตนได้อย่างเหมาะสม
งานบริการช่วยเหลือทางกฎหมาย มีทนายความอาสาสมัครเพื่อคอยให้คำปรึกษาแก่ประชาชนและช่วยดำเนินคดีให้กับผู้ด้อยโอกาสที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรวม
งานส่งเสริมการรวมกลุ่ม สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร กรรมกร ทนายความ นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป เพื่อเข้ามาร่วมกิจกรรมในการพิทักษ์ปกป้องสิทธิมนุษยชน นักต่อสู้ของชุมชน
งานประสานงาน มีการประสานงานกับบุคคลสถาบันการศึกษา องค์การด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมกันส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
งานสมาชิกสัมพันธ์ เป็นกิจกรรมด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในปัญหาและแนวคิดสิทธิมนุษยชนให้กับสมาชิกของ สสส. เพื่อให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมของ สสส. มากขึ้น
คณะกรรมการชุดปัจจุบัน
Mr. Sarawut Pratoomraj President
Mrss. laddawan tantivitayapitak Vice President no. 1
Mr. Khanpet Chaitaweep Vice President no. 2
Mrss. Oraya Krainirakul Committee Member on Finance
Mrss.Koreeyor Manuchae Committee Member on Legal Issues
Mr. Bandit Homket Committee Member on Registration
and Members
Mr. Pongsak Jan-orn Committee Member
Mr. Nattawat Krittayanawat Committee Member
Mr.Vorapat Veerapattankup Committee Member
Mr. Prapoth Srithet Committee Member
Mrss. Supensri Poungkhoksung Committee Member
หมายเหตุ-เลือกตั้งโดยที่ประชุมใหญ่สมาชิกสามัญประจำปี 25 มิถุนายน 2565 และได้รับอนุมัติจากนายทะเบียน 14 ธันวาคม 2565 มีวาระดำรงตำแหน่ง ๒ ปี
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
109 ซ.สิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ 0-2275-4231-2 โทรสาร 0-2275-4230
Email: uclthailand@gmail.com
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) Union for Civil Liberty (UCL.)