แถลงการณ์
องค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยห่วงใยเกี่ยวกับวิกฤตของฮ่องกงในปัจจุบัน
และเกรงว่าจะขยายวงเป็นการเผชิญหน้ากันอย่างความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลาสองเดือนแล้ว โดยไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายไปสู่การพูดคุยและการมีข้อตกลงร่วมกัน วิกฤตการเมืองนี้ต้องการทางออกทางการเมืองอย่างเร่งด่วน เรามีความเห็นว่า การใช้แนววิธี “ตาต่อตา” และการเผยแพร่ข้อมูลปลอมเพื่อหวังเอาชนะนั้น จะนำไปสู่ความขัดแย้งยกระดับ ซึ่งจะเป็นเรื่องของปฏิกิริยาโต้ตอบและการแบ่งขั้วมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแนววิธีเสียใหม่ ซึ่งมีหลักการที่คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ โดยแต่ละฝ่ายสามารถแสดงออกซึ่งความขัดข้องและข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายและต่อสาธารณชน เป็นธรรมดาที่จะมีความขัดกันของข้อเรียกร้อง แต่ในขั้นนี้ ควรมีการระบุข้อเรียกร้องต่าง ๆ ให้ชัดเจน และฝ่ายที่รับข้อเรียกร้องพึงแสดงออกว่าได้รับทราบข้อเรียกร้องนั้นแล้ว การใช้แนววิธีใหม่นี้น่าจะช่วยนำไปสู่ความไว้วางใจกันมากและเปิดทางสู่การเจรจากัน ไม่ว่าจะคุยกันโดยตรงหรือมีคนกลางไกล่เกลี่ย
เราเชื่อว่าประชาชนมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นและชุมนุมกันโดยสงบ เราเชื่อว่ารัฐบาลและตำรวจมีหน้าที่ที่จะเคารพสิทธิดังกล่าว และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามครรลองของกฎหมายและตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ โดยไม่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ในกรณีการชุมนุม เราขอเรียกร้องให้ผู้จัดชุมนุมใช้ความระมัดระวังมิให้เกิดความรุนแรงและป้องกันมิให้ผู้ก่อกวนมาก่อเหตุได้ และขอเรียกร้องให้ตำรวจใช้ความยับยั้งชั่งใจให้มากที่สุด
เรายังมีข้อเสนอว่า รัฐบาลจีนไม่ควรส่งกองกำลังเข้าไปในฮ่องกง หากยังคงเคารพธรรมนูญการปกครองฮ่องกง ปี ค.ศ. 1977 ที่กำหนดแนวทางของ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ไว้ และขอให้รัฐบาลจีนยังคงทำตามข้อตกลงที่มีร่วมกับรัฐบาลอังกฤษในคราวรับทอดการปกครองฮ่องกง ข้อตกลงดังกล่าวกำหนดให้ฮ่องกงมีการปกครองตนเองในระดับสูง และชาวฮ่องกงมีสิทธิและมีระบบเศรษฐกิจที่ต่างไปจากระบบของจีนแผ่นดินใหญ่ได้ อย่างน้อยในระยะเวลา 50 ปี นั่นคือจนถึงปี ค.ศ. 2047
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม(CrCF)
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มพส.)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) Union for Civil Liberty (UCL.)