ครั้งที่ 2  การประชุมเวทีอนุภูมิภาคกลาง (ภาค 1) เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ห้องโบโลญญ่า ชั้น 7 อาคารพาลาสโซคอนเฟอเรนซา (Palazzo  Conferanza) มีผู้เข้าร่วมจำนวน 35 คน 

ผลการดำเนินงาน :

        จากการสรุปผลสัมมนาวันที่ 19-20 มกราคม 2562 เรื่อง “ปัญหาและข้อเสนอในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” และในการประชุมครั้งที่ 2 (10 มีนาคม พ.ศ. 2562) ได้มีการปรับปรุงเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้นไว้ดังนี้

       ชั้นการพิจารณาคดี

       ลดทอนความเป็นอาชญากรรม

             ศึกษาแยกความผิดแต่ละประเภทในมิตินโยบายด้านเศรษฐกิจและการเมือง

        ปฏิรูปตำรวจ

        หลักการ : แสวงหาข้อเท็จจริงจนสิ้นสงสัย (ให้อัยการร่วมสอบสวนตั้งแต่ต้นทาง)

        –    ให้มีการกระจายอำนาจ และส่วนกลางสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และส่วนจังหวัดสังกัดฝ่ายปกครองในแต่ละพื้นที่

        –    โอนภารกิจงานสอบสวนไปยังหน่วยงานอื่น

        –    ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้หลักการตำรวจชุมชน

        ชั้นเจ้าพนักงาน

        1. ยกเลิกประกาศ คสช. ที่ 115/2557

        2. หน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ และนิติเวชศาสตร์ ควรกระจายไปอยู่ในหลายๆ หน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัย

        3. ให้มีพนักงานสอบสวนหญิงเข้ามาร่วมสอบสวน

        4. ให้ยกเลิกการทำแผนการประทุษกรรมประกอบการรับสารภาพ

        5. พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวของชาวต่างชาติ

        6. การสอบสวนและการสั่งคดีเป็นขบวนการเดียวกันโดยให้อัยการดูแลการสอบสวน

        7. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพยาน

       ชั้นพิจารณาคดี (ชั้นศาล)

        1. ปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้อง

        2. ปรับปรุงแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาของศาลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสนอเป็นนโยบายต่อศาล

        3. การไต่สวนการตายให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาและให้พนักงานอัยการเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นทาง

        4. ยกเลิกระบบยี่ต๊อก

        5. ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

        6. ให้ศาลฎีกาพิจารณาคดีเฉพาะข้อกฎหมาย

        7. ปรับปรุงแก้ไข พรบ. กองทุนยุติธรรม ประเด็นโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการและการพิจารณาให้เงิน

        8. ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับทหารเท่านั้น

       ชั้นบังคับโทษ

        1. ให้ความรู้แก่สาธารณะ แนวคิด หลักการ การปรับปรุงโทษอาญาทั้งระบบ/ระบบงานราชทัณฑ์

        2. ทบทวนกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงให้สอดคล้องกับหลักสากลด้านสิทธิมนุษยชน