สรุปผลการดำเนินงาน

        ครั้งที่ 1   ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาระดับชาติและระดับอนุภูมิภาค เมื่อวันเสาร์ที่ 19 – วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2562 ณ ศรีเปี่ยมสุขรีสอร์ท ซอยร่วมสุข ถนนติวานนท์ หมู่ 1 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จ.ปทุมธานี มีผู้เข้าร่วมจำนวน 41 คน  

ผลการดำเนินงาน :

        จากการเปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนในหัวข้อเรื่อง “ปัญหาและข้อเสนอในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” ทำให้ได้ข้อสรุปประเด็นจากการประชุมดังนี้

พลังประชาชนเพื่อความยุติธรรมทางอาญา (People Power for Criminal Justice)

 

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่

  1. ชั้นก่อนพิจารณาคดี
  • ลดทอนความเป็นอาชญากรรม : ศึกษาแยกความผิดแต่ละประเภทในมิตินโยบายด้านเศรษฐกิจและการเมือง
  • ปฏิรูปตำรวจ หลักการ : แสวงหาข้อเท็จจริงจนสิ้นสงสัย (ให้อัยการร่วมสอบสวนตั้งแต่ต้นทาง)
  • ให้มีการกระจายอำนาจ และส่วนกลางสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และส่วนจังหวัดสังกัดฝ่ายปกครองในแต่ละพื้นที่
  • โอนภารกิจงานสอบสวนไปยังหน่วยงานอื่น
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้หลักการตำรวจชุมชน
  1. ชั้นเจ้าพนักงาน
  • ยกเลิกประกาศ คสช. ที่ 115/2557
  • สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ให้มีความเป็นอิสระ และควรกระจายไปอยู่ในหลายๆ หน่วยงาน
  • ให้มีพนักงานสอบสวนหญิงเข้ามาร่วมสอบสวน
  • ให้ยกเลิกการทำแผนการประทุษกรรมประกอบการรับสารภาพ
  • พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวของชาวต่างชาติ
  • การสอบสวนและการสั่งคดีเป็นขบวนการเดียวกันโดยให้อัยการดูแลการสอบสวน
  • ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพยาน
  1. ชั้นพิจารณาคดี (ชั้นศาล)
  • ปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้อง
  • ปรับปรุงแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาของศาลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสนอเป็นนโยบายต่อศาล
  • การไต่สวนการตายให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาและให้พนักงานอัยการเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นทาง
  • ยกเลิกระบบยี่ต๊อก
  • ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
  • ให้ศาลฎีกาพิจารณาคดีเฉพาะข้อกฎหมาย
  • ปรับปรุงแก้ไข พรบ. กองทุนยุติธรรม ประเด็นโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการและการพิจารณาให้เงิน
  • ยกเลิกระบบศาลทหารในการพิจารณาคดีที่พลเรือนกระทำความผิด
  1. ชั้นบังคับโทษ
  • ให้ความรู้แก่สาธารณะ แนวคิด หลักการ การปรับปรุงโทษอาญาทั้งระบบ/ระบบงานราชทัณฑ์
  • ทบทวนกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงให้สอดคล้องกับหลักสากลด้านสิทธิมนุษยชน