ครั้งที่ 7 อนุภูมิภาคเหนือตอนล่าง (ภาค 6) เมื่อวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมรัตนาปาร์ค ชั้น 6 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ผู้เข้าร่วม 38 คน
ผลการดำเนินงาน :
จากการเปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนในหัวข้อเรื่อง “ปัญหาและข้อเสนอในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” ของอนุภูมิภาคเหนือตอนล่าง (ภาค 6) ทำให้ได้ข้อสรุปประเด็นจากการประชุมดังนี้
สถานการณ์ปัญหาของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของภาคเหนือตอนล่าง คือ ใช้งบประมาณสูง ขาดประสิทธิภาพ มีความยุ่งยาก มีการทุจริตคอรัปชั่น/ผลประโยชน์แอบแฝง ประชาชนเข้าไม่ถึงสิทธิ/ขาดองค์ความรู้ มีการจับแพะ มีการละเมิดสิทธิและการละเมิดซ้ำ
ข้อเสนอแนะ :
1) การปฏิรูปต้องเริ่มต้นที่ตำรวจตั้งแต่ขั้นทำสำนวนต้องมีความตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อมูล รวมทั้งอัยการต้องให้โอกาสผู้ต้องหาได้ชี้แจงด้วยตนเอง แทนการพิจารณาเฉพาะจากเอกสารที่เสนอมาจากชั้นการสอบสวนของตำรวจเท่านั้น
2) ต้องมีกฎหมายคุ้มครองสิทธินักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และหากเกิดกรณีที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมถูกฆาตกรรม กระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมโดยการสืบสวนข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ไม่เกรงกลัวอิทธิพลของผู้ที่กระทำผิด
3) พรบ.ป่าไม้ พรบ.อุทยานแห่งชาติ พรบ.ส่งเสริมและคุ้มครองสัตว์ป่า พรบ.ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านและกลุ่มชาติพันธุ์อย่างมาก ซึ่งมีวิถีการใช้ชีวิตพึ่งพิงธรรมชาติมาก่อนที่จะประกาศใช้กฎหมาย ดังนั้น พรบ.จึงควรปรับลดโทษทางอาญาเป็นโทษทางปกครองหรือชดใช้ค่าเสียหายแทน โดยคำนึงถึงสิทธิชุมชนเป็นสำคัญ
4) ระบบการสืบสวนสอบสวนต้องเปิดโอกาสให้หลายหน่วยงานเข้ามารับรู้ร่วมกัน เพื่อถ่วงดุลอำนาจให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย
5) ผลักดันให้เกิดคณะกรรมการยุติข้อพิพาทประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนซึ่งมีกฎหมายรองรับ เพื่อยุติปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแทนการใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
6) ให้ความสำคัญกับกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง
7) ผลักดันกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไว้ในหลักสูตรระบบการศึกษา เพื่อพัฒนานักกฎหมายรุ่นใหม่ให้เน้นเรื่องการให้ความช่วยเหลือประชาชน
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) Union for Civil Liberty (UCL.)